#6 สิทธิน่ารู้ ของผู้ประกันตนเองมาตรา 39
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม
ฉบับย่อ :

6 สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนเองมาตรา 39

  • กรณีเจ็บป่วย ได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลที่ได้รับรองตามสิทธิหรือเครือข่ายของโรงพยาบาลดังกล่าว
  • กรณีคลอดบุตร ได้รับค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่ายจำนวน 13,000 บาท / ครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งและค่าฝากครรภ์
  • กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินทดแทนการขายรายได้ หากเป็นกรณีไม่รุนแรงจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลา 180 เดือน และกรณีรุนแรงจะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือนตลอดชีวิต
  • กรณีเสียชีวิต ทายาทของผู้ประกันตนเองมาตรา 39 จะได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 40,000 บาท เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตตามเงินสมทบที่ได้จ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม
  • กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน เดือนละ 600 บาท / คน (*คราวละไม่เกิน 3 คน) โดยต้องเป็นบุตรที่ชอบโดยกฎหมายตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี บริบูรณ์
  • กรณีเงินบำเหน็จชราภาพ ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพอันเป็นเงินที่จ่ายให้ครั้งเดียว ตามหลักเกณฑ์

ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 ได้รับสิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจอะไรบ้าง อย่าพลาด! มาติดตามรายละเอียดน่ารู้กัน

Healthinsurance-SiamSmile

 

ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 ถือว่าเป็นหนึ่งของผู้ที่มีสิทธิได้รับการดูแลอย่างเหมาะตามสิทธิอันพึงมีของประกันสังคม แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจนักว่าผู้ประกันตนเองมาตรา 39 คืออะไรและได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านใดกันบ้าง ถ้าหากใครกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกันตนเองมาตรา 39 เชื่อว่าบทความนี้จะช่วยไขปริศนาคาใจให้ได้กันอย่างแน่นอน

 

 

ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 คืออะไร

 

กล่าวโดยสรุป ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนเองโดยสมัครใจ เป็นผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อนและได้ทำการจ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ก่อนที่จะทำการออกมาจากงาน แต่มีความต้องการที่อยากจะได้รับสิทธิประกันสังคมอยู่จึงได้ทำการจ่ายเงินสมทบทุนกับกองประกันสังคมด้วยตัวเอง

 

6 สิทธิประโยชน์ที่ควรทราบของผู้ประกันตนเองมาตรา 39 มีอะไรกันบ้าง?

ประกัน กรุงเทพ

 

สำหรับในส่วนของสิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจของผู้ประกันตนเองมาตรา 39 สามารถทำการสรุปได้ ดังต่อไปนี้

 

1.ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 : กรณีเจ็บป่วย

ประกัน ตนเอง มาตรา 39

ภาพจาก : สำนักงานประกันสังคม

 

ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลที่ได้รับรองตามสิทธิหรือเครือข่ายของโรงพยาบาลดังกล่าว สิทธิดังกล่าวจะได้รับเมื่อมีการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วย

 

2.ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 : กรณีคลอดบุตร

ประกัน ตนเอง มาตรา 39

ภาพจาก : สำนักงานประกันสังคม

 

ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 จะได้รับค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่ายจำนวน 13,000 บาท / ครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งและค่าฝากครรภ์ โดยผู้ประกันตนเองมาตรา 39 จะได้รับสิทธิดังกล่าวต่อเมื่อทำการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเป็นจำนวนครบ 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนคลอด

 

3.ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 : กรณีทุพพลภาพ

ประกัน ตนเอง มาตรา 39

ภาพจาก : สำนักงานประกันสังคม

 

ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 จะได้รับเงินทดแทนการขายรายได้ หากเป็นกรณีไม่รุนแรงจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลา 180 เดือน และกรณีรุนแรงจะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือนตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังได้รับค่าบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลที่มีสิทธิตามจริง กับเงินบำเหน็จตามที่หลักเกณฑ์กำหนด

สำหรับการได้รับสิทธิดังกล่าว ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 จะต้องมีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นระยะเวลา 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนที่จะเกิดอาการทุพพลภาพ

 

4.ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 : กรณีเสียชีวิต

ประกัน ตนเอง มาตรา 39

ภาพจาก : สำนักงานประกันสังคม

 

   ทายาทของผู้ประกันตนเองมาตรา 39 จะได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 40,000 บาท เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตตามเงินสมทบที่ได้จ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม เช่น 36 เดือนขึ้นไป ไม่ถึง 120 เดือน ได้รับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน หากจ่ายเงินสมทบ 120 เดือน ขึ้นไ ได้รับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน ขึ้นไปและเงินบำเหน็จ ตามหลักเกณฑ์ / เงื่อนไขที่กำหนด

 

5.ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 : กรณีสงเคราะห์บุตร

ประกัน ตนเอง มาตรา 39

ภาพจาก : สำนักงานประกันสังคม

 

ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน เดือนละ 600 บาท / คน (*คราวละไม่เกิน 3 คน) โดยต้องเป็นบุตรที่ชอบโดยกฎหมายตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี บริบูรณ์ ซึ่งต้องจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวน 12 เดือน ภายใน 36 เดือน ก่อนที่มีบุตรเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทน

 

6.ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 : กรณีเงินบำเหน็จชราภาพ

ประกัน ตนเอง มาตรา 39

ภาพจาก : สำนักงานประกันสังคม

 

ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพอันเป็นเงินที่จ่ายให้ครั้งเดียว สำหรับคนที่จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน ส่วนคนที่ทำการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเงินเท่ากับที่ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 และนายจ้างสมทบ พร้อมผลประโยชน์ทดแทนตามที่ประกันสังคมกำหนด

 

.
สมัครเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 39 ดีไหมคะ?

.

ขอแนะนำให้สมัครเอาไว้เลย เพราะเสียเงินสมทบเพียงเดือนละไม่กี่ร้อยบาท แต่ผลประโยชน์ที่ได้รับกลับมารับรองว่าคุ้มค่าแบบสุด ๆ

 

ส่งท้ายก่อนจาก # ทำผู้ประกันตนเองมาตรา 39 ดีไหม

 

จากข้อมูลและสิทธิประโยชน์โดยรวมจะเห็นได้ว่าผู้ประกันตนเองมาตรา 39 ถือว่ามีสิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ถ้าหากใครกำลังมองหาหลักประกันให้กับชีวิตในระยะยาว เชื่อว่าผู้ประกันตนเองมาตรา 39 เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจไม่เบาอย่างแน่นอน

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
[13 เหตุผล] ที่ทำให้สมัครบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพไม่ผ่าน และทำยังไงดีให้ผ่าน!?
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
[13 เหตุผล] ที่ทำให้สมัครบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพไม่ผ่าน และทำยังไงดีให้ผ่าน!?
สมัครบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพไม่ผ่านทำไงดี!? บทความนี้รวมทุกคำตอบที่รับ...
ขอ ส่วนลด ปิด บัตร เฟิ ร์ ส ช้อย
เกี่ยวกับบัตรเครดิต
ปักหมุดทุกประเด็นน่ารู้ ในการปิดบัตรและขอส่วนลดบัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ (Krungsri First Choice) โดยเฉพาะ
อยากขอส่วนลด-ปิดหนี้ บัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ (Krungsri First Cho...