- การขายพันธบัตรในตลาดรอง เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การลงทุนด้วยการ “สร้างผลกำไรจากส่วนต่างของราคา” ในการขายหรือรับซื้อ แต่จำเป็นจะต้องศึกษาความต้องการของตลาดด้วยเช่นกัน
- การถือครองพันธบัตรจนครบกำหนดไถ่ถอน ได้รับผลกำไรจาก “ดอกเบี้ยหน้าตั๋ว” ได้รับผลตอบแทนที่คาดการณ์ได้ และไม่ต้องวุ่นวายกับการเก็งกำไร
Contents
การลงทุนกับพันธบัตรด้วยการซื้อและขายในตลาดรองดีหรือเปล่า? บทความนี้มีคำตอบ
“พันธบัตร” เป็นหนึ่งในการลงทุนที่เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นการลงทุนที่มีความ “เสี่ยงน้อยที่สุด” เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ จึงไม่น่าแปลกใจนักที่การจำหน่ายซื้อขายพันธบัตรในตลาดแรกมักที่จะหมดในเวลาที่ไม่นาน
สำหรับคนที่พลาดการซื้อพันธบัตรในตลาดแรก ก็ยังมีโอกาสที่จะได้ลงทุนกับพันธบัตรผ่าน “ตลาดรอง” ที่เป็นสถานที่สำหรับการซื้อและขายพันธบัตรจากคนที่มีความต้องการอยากซื้อขายเช่นกัน แต่ก่อนที่จะทำการตัดสินใจว่าควรทำการซื้อหรือขายพันธบัตรดีหรือเปล่านั้น อยากให้ลองมาติดตามอ่านข้อมูลที่น่าสนใจจากบทความชิ้นนี้กันก่อน
การขายพันธบัตรในตลาดรองก่อนกำหนดไถ่ถอน สร้างกำไรได้อย่างไร?
การขายพันธบัตรในตลาดรอง เป็นหนึ่งในกลยุทธิ์การลงทุนที่มีความน่าสนใจเนื่องจากมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าจาก “กำไรส่วนต่างของราคา” อย่างไรก็ตาม ผลกำไรดังกล่าวขึ้นอยู่กับพันธบัตรแต่ละรุ่นด้วยว่ากำลังเป็นที่ต้องการหรือเปล่า ยิ่งเป็นพันธบัตรรุ่นที่คนต้องการมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งสามารถสร้างกำไรส่วนต่างได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ในทางกลับกันหากเป็นรุ่นที่ผู้ซื้อไม่ต้องการก็จะขายไม่ได้กำไรเช่นกัน
ราคารับซื้อ / ขายพันธบัตรในตลาดรอง ของธนาคารกสิกรไทย
เพื่อให้การเก็งกำไรสำหรับคนที่มีความต้องการอยากที่จะทำการซื้อและขายพันธบัตรก่อนเวลาครบกำหนดไถ่ถอน ขอแนะนำให้ทำการตรวจสอบราคารับซื้อและราคาขายให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าจะสามารถสร้างผลกำไรได้ ดังต่อไปนี้
*พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ / พันธบัตรออมทรัพย์ ข้อมูล พ.ค. 2565 จากธนาคารกสิกรไทย
รุ่นพันธบัตร | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว | วันครบกำหนด | อายุคงเหลือ | ธนาคารรับซื้อ / หน่วย | ธนาคารขาย / ผลตอบแทน |
SBST251A | 4 | 12 ม.ค. 68 | 2 ปี 8 เดือน | 108.1843 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SBST255A | 2.4 | 14 พ.ค. 68 | 3 ปี | 99.8983 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SBST257A | 1.9 | 12 ก.ค. 68 | 3 ปี 2 เดือน | 98.5070 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SBST262B | 2 | 5 ก.พ. 69 | 3 ปี 9 เดือน | 98.2828 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SBST265A | 2.25 | 12 พ.ค. 69 | 4 ปี | 101.1792 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SBST26NB | 2.1 | 22 พ.ย. 69 | 4 ปี 6 เดือน | 96.7567 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SBST305A | 3 | 14 พ.ค. 73 | 8 ปี | 97.8544 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SBST312A | 2.5 | 5 ก.พ. 74 | 8 ปี 9 เดือน | 94.1372 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SBST31NB | 3 | 22 พ.ย. 74 | 9 ปี 6 เดือน | 96.1901 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB22DA | 1.7 | 13 ธ.ค. 65 | 7 เดือน | 100.8639 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB235A | 2.15 | 10 พ.ค. 66 | 1 ปี | 100.6885 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB23DA | 2.56 | 13 ธ.ค. 66 | 1 ปี 7 เดือน | 101.9875 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB245A | 2.5 | 17 พ.ค. 67 | 2 ปี | 100.5356 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB247A | 4.75 | 15 ก.ค. 67 | 2 ปี 2 เดือน | 106.7979 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB248A | 1.7 | 25 ส.ค. 67 | 2 ปี 3 เดือน | 99.0115 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB24NA | 2.45 | 27 พ.ย. 67 | 2 ปี 6 เดือน | 100.0029 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB25NA | 3 | 19 พ.ย. 68 | 3 ปี 6 เดือน | 100.9213 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB26DA | 1.95 | 13 ธ.ค. 69 | 4 ปี 7 เดือน | 96.6433 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB275A | 3 | 8 พ.ค. 70 | 5 ปี | 99.9959 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB278A | 2.2 | 26 ส.ค. 70 | 5 ปี 3 เดือน | 96.4124 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB285A | 3 | 10 พ.ค. 71 | 6 ปี | 99.1773 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
SB295A | 3.05 | 17 พ.ค. 72 | 7 ปี | 98.3782 | ติดต่อเจ้าหน้าที่ |
การถือครองพันธบัตรไม่ทำการซื้อขายก่อนกำหนดไถ่ถอน สร้างกำไรได้อย่างไร?
สำหรับการถือพันธบัตรเอาไว้จนกระทั่งครบกำหนดระยะเวลาโดยไม่ทำการซื้อขายไปก่อน ผลกำไรที่ได้รับจะมาจาก “ดอกเบี้ยหน้าตั๋ว” เป็นวิธีการลงทุนที่คนส่วนใหญ่ให้ความนิยมมากที่สุด เนื่องจากได้รับผลตอบแทนที่คาดการณ์ได้ และไม่จำเป็นที่จะต้องวุ่นวายในการวิ่งซื้อขายเก็งกำไรเหมือนกับการนำพันธบัตรมาขายในตลาดรองนั่นเอง
ส่งท้ายก่อนจาก # การซื้อ-ขายพันธบัตร เป็นการลงทุนที่ดีหรือเปล่า?
การซื้อและขายพันธบัตร เป็นหนึ่งในศาสตร์การลงทุนที่เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะหากทำการซื้อ-ขาย ได้อย่างถูกจังหวะและเหมาะสมก็จะสามารถสร้างผลกำไรที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างได้เป็นอย่างดี แต่ก็ควรทำการตรวจสอบราคาการซื้อขายให้ดีเสียก่อน เพราะไม่อย่างนั้นแทนที่จะเป็นการสร้างผลกำไร อาจกลายเป็นการพลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดายได้เช่นกัน