Contents
- 1 รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้ด้วยหรือ?
- 2 แล้วขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมดีอย่างไร?
- 3 รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ดีอย่างไร?
- 4 สรุปข้อดี-ข้อเสียฉบับรวบรัด รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่หรือธนาคารเดิมดีกว่ากัน
- 5 บทส่งท้ายกับผู้เขียน : รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิม หรือ รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ ตัดสินใจยังไงดี
รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้ด้วยหรือ?
การขอรีไฟแนนซ์บ้านกับทางสถาบันทางการเงินเดิมเป็นเรื่องที่สามารถทำได้แน่นอนค่ะ แต่ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องหรือให้ชัดเจนขึ้น การรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมคือการขอลดดอกเบี้ยบ้านธนาคารเดิม หรือ Retention นั่นเอง โดยปกติแล้วเมื่อครบ 3 ปีที่ดอกเบี้ยที่เคยถูกจากโปรโมชั่นก็จะถูกปรับสูงขึ้น การขอรีไฟแนนซ์จากธนาคารเดิมคือการขอลดดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นให้ลดลงมานั่นเองค่ะ
และแม้ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยของบ้านนั้นจะปรับขึ้นเพียง 1-3% แต่การปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยนี้ก็ทำให้สามารถเสียดอกเบี้ยไปเป็นหลักพันปลายๆ จนถึงหลักหมื่นได้เลยทีเดียวค่ะ ทำให้การขอรีไฟแนนซ์เป็นธุรกรรมที่น่าสนใจและนิยมมากทีเดียวค่ะ
แล้วขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมดีอย่างไร?
เพื่อนๆ เคยเจอเหตุการณ์ต้องการเปลี่ยนค่ายเน็ตโทรศัพท์แล้วทางค่ายเดิมก็ยื่นข้อเสนอโปรลับสุดเด็ดมาให้ใช้บ้างไหมคะ เช่นเดียวกันกับการรีไฟแนนซ์บ้านที่เมื่อเราเตรียมตัวที่จะย้ายไปรีไฟแนนซ์กับทางธนาคารใหม่ ทางธนาคารเดิมก็จะงัดโปรโมชั่นมาให้ แต่โดยปกติก็จะลดได้ไม่เท่ากับการไปรีไฟแนนซ์ที่ธนาคารแห่งใหม่เท่าไหร่ค่ะ เช่น ปกติเสียดอกเบี้ย 7% เมื่อขอรีไฟแนนซ์กับทางธนาคารเดิมแล้วอาจลดลงเหลือ 5% เมื่อเทียบกับทางธนาคารใหม่ที่อาจเสียดอกเบี้ยแค่ 2.5% เก็นับว่าต่างกันเยอะทีเดียวค่ะ
แต่ข้อดีของการรีไฟแนนซ์กับทางธนาคารเดิมคือไม่ต้องกรอกเอกสาร เช็กสภาพบ้านหรือมีขั้นตอนที่ยุ่งยากเท่าการขอรีไฟแนนซ์จากสถาบันทางการเงินแห่งใหม่ แล้วยังไม่ต้องจ่ายค่าจดจำนองในการรีไฟแนนซ์อีกรอบด้วยค่ะ
นอกจากนี้ยังหากจะทำธุรกรรมกับธนาคารแห่งใหม่ ทางธนาคารจะต้องขอดูประวัติทางการเงิน และหากมีประวัติทางการเงินไม่ดีก็อาจจะทำให้ถูกปฏิเสธได้ หากต้องการรีไฟแนนซ์กับทางธนาคารแห่งใหม่แต่มีประวัติทางการเงินไม่ค่อยดี ก็สามารถขอรีไฟแนนซ์กับทางธนาคารเดิมไปก่อน เมื่อประวัติทางการเงินค่อย ดีขึ้นแล้วก็ค่อยทำธุรกรรมกับธนาคารแห่งใหม่ได้ค่ะ
รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ดีอย่างไร?
สำหรับข้อดีของการรีไฟแนนซ์กับธนาคารแห่งใหม่นั้น เพื่อนๆ อาจจะพอทราบกันอยู่บ้างแล้ว คือการที่แต่ละธนาคารจะมาเสนอโปรโมชั่นต่างๆ ให้เราได้ตัดสินใจเลือกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโปรไฟล์และประวัติทางการเงินของเพื่อนๆ ดีมาก ทางธนาคารก็คงจะเสนอดอกเบี้ยที่ถูกที่สุดเท่าที่จะให้ได้ให้ (ดอกเบี้ยบ้านต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 2.35% ต่อปี) หรืออาจมีข้อเสนออื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ฟรีค่าประเมิน ฟรีค่าอากรเป็นต้น
ข้อดีเพิ่มเติมจากข้อดีข้างต้นยังมีข้อดีอีกข้อหนึ่งคือเมื่อเราผ่อนบ้านมาได้ระยะหนึ่งแล้วมารีไฟแนนซ์กับธนาคารแห่งใหม่นอกจากจะทำให้ดอกเบี้ยถูกลงแล้วยังอาจทำให้งวดผ่อนชำระลดลงด้วยเพราะได้ผ่อนชำระค่าบ้านมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ยิ่งบวกกับค่าดอกเบี้ยที่ถูกลงก็หมายความว่าภาระการเงินของเพื่อนๆ ก็จะเบาลงนั่นเองค่ะ
ในการรีไฟแนนซ์บ้านกับทางธนาคารใหม่จะสามารถขอสินเชื่ออเนกประสงค์ได้ ซึ่งจะคุ้มค่ากว่ายื่นขอวงเงินสินเชื่อทั่วไป เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัวก็ว่าได้ เช่น กู้ซื้อบ้านมา 5 ล้าน ผ่อนไปแล้ว 2.5 ล้าน แต่เพื่อนๆ ต้องการเงินก็สามารถยื่นเรื่องกับธนาคารเพื่อคำนวณส่วนต่างและดำเนินการต่อได้เลยค่ะ นอกจากนี้ยังสามารถยืดระยะเวลาในการผ่อนสินเชื่อให้ยาวนานขึ้นกว่าเดิมด้วย
สรุปข้อดี-ข้อเสียฉบับรวบรัด รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่หรือธนาคารเดิมดีกว่ากัน
ข้อดี | ข้อเสีย | |
รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารเดิม | - ไม่ต้องทำเอกสารหรือผ่านขั้นตอนเพื่อพิจารณา
- ไม่เสียค่าจดจำนองการรีไฟแนนซ์อีกรอบ |
- ดอกเบี้ยแพงกว่าเมื่อเทียบกับการรีไฟแนนซ์กับธนาคารแห่งใหม่ |
รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารใหม่ | - ดอกเบี้ยถูกมาก (เริ่มต้นเพียง 2.5% ต่อปี)
- อาจได้โปรโมชั่นดีๆ จากธนาคารใหม่ - ดอกเบี้ยที่ถูกลงบวกกับผ่อนค่างวดถูกลงทำให้แบ่งเบาภาระทางการเงินได้ดี - สามารถยื่นขอเงินกู้อเนกประสงค์ได้พร้อมรีไฟแนนซ์บ้านได้แบบคุ้มค่า - ระยะเวลาในการผ่อนสินเชื่อนานขึ้น
|
-มีขั้นตอนในการดำเนินการค่อนข้างยุ่งยาก
-ต้องเสียค่าจดจำนองรีไฟแนนซ์ใหม่ -หากมีประวัติทางการเงินไม่ดี ก็มีสิทธิ์พิจารณาไม่ผ่านสูง
|
บทส่งท้ายกับผู้เขียน : รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิม หรือ รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ ตัดสินใจยังไงดี
สำหรับการตัดสินใจนั้นก็คงจะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายและความคุ้มค่า ความเหมาะสมในหลายๆ ด้านว่าคุ้มหรือไม่คุ้มดูค่ะ เพราะสถานการณ์ของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป หากต้องการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่แต่ข้อเสนอไม่ดี ก็อาจต้องรอไปก่อน เป็นต้นค่ะ