- ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท
- ประกันบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท
- ประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท (*บิดามารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท / ปี)
- ประกันชีวิตคู่สมรส ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 10,000 บาท (*คู่สมรสต้องไม่มีรายได้)
- ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท (*คุ้มครอง 10 ปี ขึ้นไปและได้เงินคืนสะสมในระหว่างสัญญาไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี)
- ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ คิดเบี้ยประกันรวมกันลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
Contents
อยากทำประกันสักฉบับเพื่อนำมาใช้ลดหย่อนภาษีเลือกแบบไหนดี?
“ประกัน” นอกจากจะให้ความคุ้มครองชีวิต สุขภาพหรือทรัพย์สินแล้ว หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่าที่จริงแล้วประกันเหล่านี้ยังสามารถถูกนำมาใช้เพื่อ “ลดหย่อนภาษี” ในช่วงสิ้นปีได้ด้วยเช่นกัน นั่นหมายความว่าถ้าหากเลือกทำประกันได้อย่างเหมาะสม ก็จะสามารถช่วยลดภาษีที่ต้องจ่ายให้กับทางรัฐได้มากโขเลยทีเดียว
ส่วนประกันที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้ แต่ละแบบจะมีอะไรกันบ้างและประกันแบบไหนที่ทำแล้วลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ลองมาติดตามรายละเอียดที่น่าสนใจได้จากบทความชิ้นนี้กันได้เลย
1.ประกันลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจ :ประกันสุขภาพ
ตามกฎหมายแล้ว “เบี้ยประกันสุขภาพ” สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อนำมารวมกับค่าลดหย่อนประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับปีภาษีที่ทำการยื่นประกันสุขภาพ
- ประกันสุขภาพที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ มีอะไรบ้าง?
- ประกันสุขภาพ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ
- ประกันอุบัติเหตุ
- ประกันโรคร้ายแรง
- ประกันการดูแลระยะยาว (*เมื่อผู้เอาประกันไม่สามารถทำกิจกรรม 3 ใน 5 ที่กำหนดเอาไว้ ด้วยตัวเองหรือจำเป็นต้องมีผู้ช่วย)
2.ประกันลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจ :ประกันบำนาญ
เบี้ยประกันบำนาญสามารถที่จะทำการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท (*สามารถลดหย่อนได้ 300,000 บาท กรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตแบบทั่วไป) หรือไม่เกิน 15% ของจำนวนเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
เงินจำนวนนี้ เมื่อนำไปรวมกับเงินกองทุนสำรองการเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน เงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ เงินที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนเพื่อการออม (SSF) และกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
3.ประกันลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจ :ประกันสุขภาพบิดามารดา
เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดาสามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าบิดามารดาจะต้องมีรายได้ในปีดังกล่าวไม่เกิน 30,000 บาท ต่อปี
4.ประกันลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจ :ประกันชีวิตคู่สมรส
ประกันชีวิตของคู่สมรสสามารถทำการขอลดหย่อนภาษีได้เป็นจำนวน 10,000 บาท แต่ต้องเป็นการยื่นขอในกรณีที่คู่สมรสเป็นบุคคลที่ไม่มีรายได้เท่านั้นจึงจะสามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้
5.ประกันลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจ :ประกันชีวิต
เบี้ยประกันชีวิตของตัวเอง สามารถนำมาใช้เพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท โดยแบบประกันชีวิตดังกล่าวจะต้องมีระยะเวลาในการคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป และหากมี “เงินคืน” ในระหว่างสัญญา เงินคืนสะสมจะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี หรือไม่เกิน 20% ตามช่วงระยะเวลานั้น ๆ เช่น จ่ายคืนทุก 2-3 ปี เป็นต้น ให้คิดดอกเบี้ยประกันภัยสะสมในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแทน
ข้อควรรู้เพิ่มเติมในการลดหย่อนภาษีด้วยการซื้อประกัน
กรมสรรพากรยินยอมให้ผู้มีรายได้นำเอาเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดถึง 300,000 บาท แต่ในการซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เบี้ยประกันทั้งหมดจะถูกนำมารวมกันกลายเป็นการลดหย่อนภาษีที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 100,000 บาท เท่านั้น ถ้าหากต้องการลดหย่อนให้ถึงระดับเพดานสูงสุด ต้องมีการซื้อประกันเพิ่มเติมให้กับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกันตามกฎหมายด้วย
ส่งท้ายก่อนจาก # ทำประกันเพื่อลดหย่อนภาษีดีไหม
จากข้อมูลในข้างต้นจะเห็นได้ว่าการทำประกันช่วยลดหย่อนภาษีได้มากโข โดยเฉพาะกับคนที่แทบไม่มีสิทธิในการลดหย่อนประเภทอื่น เชื่อว่าการทำประกันเอาไว้เสียตั้งแต่เนิ่น ๆ จะเป็นการช่วยลดหย่อนภาษีได้อย่างน่าสนใจ ไม่ต้องจ่ายภาษีเยอะอีกต่อไปอย่างแน่นอน