ยืมเงินจากบัตร ATM
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

Contents

รีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. ก่อน 3 ปี ได้ไหม!? เอาคำตอบจากชาว Pantip มาฝากกัน

รีไฟแนนซ์บ้านก่อน 3 ปี ธอส.

 

สำหรับคนที่กู้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน...

เชื่อว่าคงจะคุ้นเคยกับชื่อของ ธอส. กันเป็นอย่างดี เพราะสถาบันทางการเงินแห่งนี้มีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและระยะเวลาในการผ่อนชำระที่ยาวนาน

อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่ทำการขอกู้สินเชื่อซื้อบ้านกับสถาบันทางการเงินอื่นแล้วอยากที่จะย้ายมาทำการรีฟแนนซ์กับ ธอส. แต่ติดปัญหาคาใจอยู่ว่ารีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. ก่อน 3 ปี สามารถทำได้ไหม!? และมีค่าใช้จ่ายอะไรกันบ้าง!?

ถ้าหากใครกำลังมีคำถามนี้กวนใจ ลองมาฟังคำตอบจากชาว Pantip ที่เคยมีประสบการณ์จริงในเรื่องนี้กันดีกว่า

 

 

3 ข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส.

 

  • รีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. หากเอกสารพร้อม พร้อมรับฟังผลการอุนุมัติได้อย่างง่ายดายไม่ยุ่งย่าก
  • รีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. มอบระยะเวลาในการผ่อนอย่างยาวนานถึง 70 ปี
  • รีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. อัราดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารทั่วไป

 

ทำไมระยะเวลาการรีไฟแนนซ์บ้าน 3 ปี ถึงเป็นเรื่องสำคัญ!?

 

เชื่อว่าหลายคนคงอยากที่จะทำการรีไฟแนนซ์บ้าน เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ลดอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากระยะเวลาโปรโมชั่น 3 ปี ของสถาบันทางการเงินเดิมได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว แต่ก่อนที่จะทำการรีไฟแนนซ์บ้าน สิ่งที่ผู้มีประสบการณ์ในเรื่องนี้อยากที่จะทำการเตือนมากที่สุดก็คือ ควรตรวจสอบสัญญากับสถาบันทางการเงินเดิมให้ดีเสียก่อนว่าจะสามารถทำการรีไฟแนนซ์บ้านได้หลังจากที่ทำการผ่อนชำระเป็นเวลากี่ปี!? เพราะโดยทั่วไปแล้วสัญญาจะอนุญาตให้ทำการรีไฟแนนซ์ได้เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 3-5 ปี ไม่เช่นนั้น อาจถูกเรียกค่าปรับที่บางครั้งอาจจะมากกว่าควาคุ้มค่าในการรีไฟแนนซ์เสียอีก

 

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน ธอส. ฉบับง่าย มือใหม่ก็ทำได้ด้วยตัวเอง!

 

1.ตรวจสอบสัญญาเงินกู้เดิม

 

ทำการตรวจสอบสัญญาเงินกู้เดิมให้ดีก่อนว่าถึงช่วงเวลาที่สามารถทำการขอรีไฟแนนซ์บ้านกับทาง ธอส. ได้แล้วหรือยัง โดยควรทำการเลือกรีไฟแนนซ์บ้านหลังจากที่ผ่อนำชำระเป็นเวลา 3 ปี เพื่อป้องกันที่จะไม่ให้เสียค่าปรับให้กับทางสถาบันทางการเงินเดิม

 

2.เลือกสถาบันทางการเงินใหม่สำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน

 

เลือกสถาบันทางการเงินโดยอิงจากโปรโมชั่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาและความคุ้มค่ามากที่สุด เพราะจะเลือกทำการรีไฟแนนซ์บ้านบ้านทั้งที ก็ควรเลือกให้ดีที่สุดและไม่ควรทำการเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์กับสถาบันทางการเงินอื่นให้ดีเสียก่อน อย่ารีบร้อนจนเกินไปไม่เช่นนั้นอาจพลาดโอกาสดีๆไปอย่างน่าเสียดาย

 

3.เตรียมค่ามใช้จ่ายสำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน

 

การรีไฟแนนซ์บ้าน มีค่าใช้จ่ายแฝงที่ควรทราบ เพื่อให้สามารถเตรียมเอาไว้อย่างเหมาะสม ดังต่อไปนี้

 

  • ค่าประเมินราคาหลักประกัน
  • ค่าธรรมเนียมในการปล่อยกู้ใหม่
  • ค่าอากรณืสแตมป์
  • ค่าจดจำนองที่ดิน
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

 

4.จัดเตรียมเอกสารในการรีไฟแนนซ์บ้านให้ครบถ้วน

 

เอกสารส่วนบุคคลสำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน

  • บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรรัฐวิสาหกิจ
  • สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)

 

เอกสารทางการเงินสำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน

  • ใบรับรองเงินเดือน
  • สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (หรือ 12 เดือน สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ)
  • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้

 

เอกสารหลักประกัน

  • หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร
  • สำเนาโฉนดที่ดิน / นส.3ก / หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด / อช.2 ทุกหน้า
  • ภาพถ่ายเพื่อแสดงสิทธิหลักประกัน
  • สัญญากู้เงิน / สัญญาจำนอง / ใบเสร็จ / Statement ย้อนหลัง 12 เดือนกับสถาบันการเงินเดิม
  • สัญญาซื้อขายฉบับกรมที่ดิน ทด.13

 

5.ยื่นขออนุมัติการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารแห่งใหม่

 

เมื่อทำการจัดเตรียมรายละเอรียดที่แนะนำไปแล้วในข้างต้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็มาถึงส่วนของการยื่นขอทำการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารแห่งใหม่ โดยในขั้นตอนนี้จะต้องทำควบคู่ไปกับธนาคารแห่งเดิมด้วย โดยมีขั้นตอนโดยสรุป ดังต่อไปนี้

 

  • ยืนขออนุมัติการรีไฟแนนซ์กับธนาคารแห่งใหม่
  • ทราบผลการอนุมัติรีไฟแนนซ์จากธนาคารแห่งใหม่
  • ติดต่อธนาคารเดิมเพื่อขอไถ่ถอนที่ดินและปิดบัญชีสินเชื่อเดิม
  • นัดธนาคารเดิมและธนาคารแห่งใหม่มาทำนิติกรรม
  • จดจำนองสินทรัพย์

 

มาลองฟังชาว Pantip กันดีกว่าว่าทำการรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. ก่อน 3 ปี ได้หรือเปล่า!?

สมาชิก Pantip : 3322580

ค่า pre-payment 3% ของวงเงินกู้ที่เหลือครับ

สมาชิก Pantip : ethic&philosophy

โปะได้  แต่ ปิดและรีไฟแนนซ์   ต้องเสียค่าปรับ 3 %

สมาชิก Pantip : Tommy liv

ได้ครับ แต่เสียค่าปรับ 3% ขอยอดหนี้

 

ชาว Pantip ให้ความเห็นว่ารีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. ก่อน 3 ปีได้ไหม!?

รีไฟแนนซ์บ้านก่อน 3 ปี ธอส.

 

ในประเด็นของการรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. ก่อน 3 ปีได้ไหม ชาว Pantip ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าสามารถที่จะทำได้ แต่จำเป็นที่จะต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวน 3% ของยอดหนี้ที่เหลือ ทำให้ชาว Pantip แนะนำว่าควรทำการผ่อนชำระหนี้คืนให้ครบกำหนด 3 ปีกับทางสถาบันทางเงินเดิมก่อนจะคุ้มค่ามากกว่า

 

9 ขั้นตอนน่ารู้สำหรับคนที่อยากขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. ก่อน-หลัง 3 ปี

รีไฟแนนซ์บ้านก่อน 3 ปี ธอส.

 

สำหรับคนที่ทำการผ่อนชำระสินเชื่อบ้านกับสถาบันทางการเงินครบกำหนด 3 ปี หรือยอมถูกปรับ 3% ของยอดหนี้คงเหลือเพื่อมาขอรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. มีขั้นตอนในการขอรีไฟแนนซ์ที่ควรทราบดังต่อไปนี้

 

1.ติดต่อกับสถาบันทางการเงินเดิมเพื่อขอเอกสารรายการสรุปยอดหนี้สินเชื่อบ้าน

2.นำรายการสรุปยอดหนี้สินเชื่อบ้านไปยื่นกับ ธอส. เพื่อขอทำการรีไฟแนนซ์

3.เจ้าหน้าที่ ธอส. ติดต่อกลับเพื่อขอทำการเข้าไปประเมินบ้าน

4.เจ้าหน้าที่ ธอส. ทำการประเมินบ้านเสร็จสิ้น รอรับฟังกลการอนุมัติ

5.เมื่อได้รับการอนุมัติ นำเอกสารไปทำการไถ่ถอนบ้านกับสถาบันทางการเงินเดิม โดยทำการคิดยอดเงินทั้งหมดเป็นเงินต้นและเงินดอกเบี้ย

6.ทำสัญญาและนัดวันทำการโอนบ้าน โดยนัดสถาบันการเงินเดิมและ ธอส. มาพร้อมกันเพื่อทำการชำระหนี้

7.หากได้รับวงเงินอนุมัติที่มากกว่าราคาไถ่ถอน ทาง ธอส. จะออกเช็ค 2 ส่วน เป็นเช็คสำหรับไถ่ถอน 1 ใบและเช็คส่วนต่าง 1 ใบ (*หากได้รับอนุมัติต่ำกว่าราคาไถ่ถอน ผู้กู้จะต้องนำเงินสดส่วนต่างไปชำระ)

8.ทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน เขตที่ทรัพย์สินที่นำมาใช้ค้ำประกันตั้งอยู่ โดยมีเจ้าหน้าที่ของทั้งสองสถาบันทางการเงินไปด้วย

9.มอบโฉนดที่ดินให้กับเจ้าหน้าที่ของ ธอส.

 

ค่าใช้จ่ายที่ต้องสำรองจ่ายหากรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. ก่อน หรือหลัง 3 ปี

รีไฟแนนซ์บ้านก่อน 3 ปี ธอส.

 

การขอรีไฟแนนซ์กับทาง ธอส. อาจมีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ควรทราบเพื่อให้สามารถที่จะทำการสำรองเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้

 

  • ค่าประเมินราคาหลักประกัน
  • ค่าจดจำนอง โดยจ่ายให้กับกรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้ (*บางครั้งอาจมีโปรโมชั่นฟรี! ในส่วนนี้)
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน
  • ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ เป็นต้น
  • ประกันอัคคีภัย

 

รีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบ 3 ปี ต้องเสียค่าเบี้ยปรับเท่าไหร่กัน!?

 

สำหรับผู้กู้ที่ใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว และมีระยะเวลากู้ มากกว่า 3 ปีหากขอชําระหนี้ปิดบัญชี หรือ ขอไถ่ถอนจํานองก่อนกําหนด คิดค่าเบี้ยปรับ ดังนี้

 

ค่าเบี้ยปรับ อัตราค่าธรรมเนียม (บาท)
ภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ทําสัญญากู้เงิน ร้อยละ 3 ของวงเงินกู้ ตามสัญญา
ภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่ทําสัญญากู้เงิน ร้อยละ 2.5 ของวงเงินกู้ ตามสัญญา
ภายในระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ทําสัญญากู้เงิน ร้อยละ 2 ของวงเงินกู้ ตามสัญญา
การให้กู้เงินประเภทแฟลต
(*หากขอชําระหนี้ปิดบัญชี หรือขอไถ่ถอน
จํานองก่อนกําหนด เพื่อนําไปจํานองกับสถาบัน
การเงินอื่น หรือผู้อื่น หลังจากปีที่ 3 จนถึงตลอดอายุ
สัญญากู้)
ร้อยละ 1 ของวงเงินกู้ ตามสัญญา

 

สำหรับผู้กู้ที่ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ และมีระยะเวลากู้ มากกว่า 3 ปีหากขอชําระหนี้ปิดบัญชี หรือ ขอไถ่ถอนจํานองก่อนกําหนด คิดค่าเบี้ยปรับ ดังนี้

 

ค่าเบี้ยปรับ อัตราค่าธรรมเนียม (บาท)
ภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ทําสัญญากู้เงิน ร้อยละ 2.5 ของวงเงินกู้ ตามสัญญา
ภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่ทําสัญญากู้เงิน ร้อยละ 2 ของวงเงินกู้ ตามสัญญา

 

4 สิ่งที่ควรคำนึงถึงหากต้องการปิดหนี้บ้านกับ ธอส. ก่อนกําหนด

 

เมื่อทำการรีไฟแนนซ์บ้านมาอยู่กับทาง ธอส. และทำการผ่อนชำระไประยะเวลาหนึ่งจนกระทั่งสามารถเก็บเงินได้สัก้อนใหญ่ หลายคนคงอาจอยากที่จะทำการปิดหนี้บ้านกับ ธอส. ก่อนกําหนด เพื่อให้ลอยตัวจากภาระของการเป็นหนี้ แต่ก่อนที่จะทำการปิดหนี้บ้านกับ ธอส. ก่อนกําหนดด้วยเงินก่อน ลองมาพิจารณากันก่อนดีกว่าว่ามีความคุ้มค่าหรือเปล่า!?

 

1.อยากปิดหนี้บ้านกับ ธอส. ก่อนกําหนด ตัวเองยังอยู่ในวัยทำงานได้หรือเปล่า!?

 

ยิ่งอายุมากขึ้น ศักยภาพในการทำงานหรือหารายได้เพิ่มเติมก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ก่อนที่จะทำการปิดหนี้บ้านกับ ธอส. ก่อนกําหนด ด้วยเงินก้อน ควรพิจารณาก่อนว่ามีโอกาสที่ตัวเองต้องใช้เงินก้อน หรือสำรองเงินก้อนดังกล่าวเอาไว้รองรับในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วย ฉุกเฉินหรือเปล่า!?

 

2.อยากปิดหนี้บ้านกับ ธอส. ก่อนกําหนด หากนำไปลงทุนจะมีความคุ้มค่ามากกว่าหรือเปล่า!?

 

ลองพิจารณาดูว่าหากมีเงินก้อนหนึ่งในมือการนำมาปิดหนี้บ้านกับ ธอส. ก่อนกําหนด จะมีความคุ้มค่ามากกว่าการนำไปลงทุนเพื่อต่อยอดสร้างผลกำไรมากขึ้นได้หรือเปล่า!? และทั้งสองเรื่องนี้อะไรที่มีความคุ้มค่ามากกว่ากัน

 

3.อยากปิดหนี้บ้านกับ ธอส. ก่อนกําหนด มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนหรือเปล่า!?

 

ถ้าหากใครมีปัญหาด้านสุขภาพ หรือมีบตรหลานอยู่ในวัยเรียน การสำรองเงินก้อนเอาไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีมากกว่าการใช้เงินเก็บทั้งหมดในการปิดหนี้บ้านกับ ธอส. ก่อนกําหนด

 

4.อยากปิดหนี้บ้านกับ ธอส. ก่อนกําหนด ภาษีที่อยู่อาศัย เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

 

การผ่อนบ้านเองก็มีข้อดีในการนำมาลดหย่อนภาษี ทำให้หลายคนีรายได้ที่ไม่เพียงพอกับการต้องจ่ายภาษีเพิ่มเติม ดังนั้น จึงควรคำนวณให้หนักว่าระหว่าอัตราดอกเบี้ยผ่อนบ้านที่ต้องจ่ายกับอัตราภาษีที่ได้รับส่วนลด อันไหนที่มอบประโญชน์ให้กับตัวเองอย่างดีมากที่สุดกัน

 

บทสรุปส่งท้าย : ขอรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. ก่อน 3 ปี ยอมเสียค่าปรับดีไหม!?

รีไฟแนนซ์บ้านก่อน 3 ปี ธอส.

 

เพื่อความคุ้มค่ามากที่สุด...

ขอแนะนำว่าถ้าหากใครอยากที่จะรีไฟแนนซ์บ้านกับทาง ธอส. ควรรอให้ครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีก่อนจะดีกว่า เพราะนอกจากค่าปรับ 3% ของยอดหนี้คงเหลือแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอีกหลายอย่างเช่นกัน

และควรลองทำการเจรจาขอลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านกับทางสถาบันทางการเงินเดิมก่อน ซึ่งในบางครั้งอาจได้รับการลดอัตราดอกเบี้ยจนกลับมาอยู่ในระดับที่พึงพอใจ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องทำการรีไฟแนนซ์ก็ได้เช่นกัน...

 

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
จ่ายบัตรเครดิตอิออน (Aeon) วันที่ 5 เสียประวัติเครดิตและค่าปรับแพงไหม!?
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
จ่ายบัตรเครดิตอิออน (Aeon) วันที่ 5 เสียประวัติเครดิตและค่าปรับแพงไหม!?
เงินเดือนเข้าล่าช้าถ้าจ่ายบัตรเครดิตอิออน (Aeon) จะเสียประวัติเครดิตแล...