Contents
- 1 เจาะลึก KYC ระบบการยืนยันตัวตน ที่ทุกธนาคารต้องใช้ ไม่ควรพลาดรู้จัก!
- 2 KYC คืออะไร!? สำคัญกับธนาคารอย่างไรกันบ้าง!?
- 3 ธนาคารและสถาบันทางการเงินใดบ้างที่ต้องทำ KYC และ CDD
- 4 รู้ก่อนไปธนาคาร การทำ KYC ของสถาบันการเงินมีการตรวจสอบอะไรกันบ้าง!?
- 5 เอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : บุคคลธรรมดา
- 6 เอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : นิติบุคคล
- 7 บทสรุปส่งท้าย : การทำ KYC กับธนาคารและสถาบันทางการเงินช่วยปกป้องอาชญากรรมทางการเงินได้จริงหรือเปล่า!?
เจาะลึก KYC ระบบการยืนยันตัวตน ที่ทุกธนาคารต้องใช้ ไม่ควรพลาดรู้จัก!
ในยุคที่เทคโนโลยีด้านธุรกรรมการเงินมีความก้าวหน้ามากขึ้น... แม้จะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ใช้บริการที่สามารถเข้าถึงธุรกรรมที่ตัวเองต้องการได้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันความสะดวกสบายเหล่านี้ก็กลายมาเป็นช่องทางของมิจฉาชีพใช้ประโยชน์มิชอบในหลากหลายด้านเช่นกัน ดังนั้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้มีข้อกำหนดการทำ KYC ขึ้นมา เพื่อรองรับป้องกันการทำธุรกรรมทางการเงินโดยมิชอบ ส่วน KYC จะมีความน่าสนใจและเรื่องที่ควรทราบอย่างไรกันบ้างนั้น ลองมาติดตามอ่านจากบทความชิ้นนี้กันได้เลย...
KYC คืออะไร!? สำคัญกับธนาคารอย่างไรกันบ้าง!?
KYC ย่อมาจากคำว่า “Know Your Customer” หากแปลเป็นไทยอย่างตรงตัวก็คือ “กระบวนการทำความรู้จักกับลูกค้า” ที่ช่วยในการระบุและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) นอกจากนี้ KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพราะธนาคารและสถาบันทางการเงินเป็นเส้นทางการเงินที่เปิดโอกาสให้เกิดการก่ออาชญากรรม
KYC จึงเป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการโจรกรรมที่ ณ ปัจจุบันได้มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมไปถึงช่องทางในการขโมยข้อมูลเองก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วยการอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดการขโมยเลขบัตรเครดิตหรือเลขประกันสังคม เป็นต้น เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
จากกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีการบังคับให้ธนาคารและสถาบันทางทางการเงินต้องทำการตรวจสอบลูกค้าทุกคนที่ทำการเปิดบัญชี เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล บุคคล ที่ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย (ผู้เยาว์) และองค์กรที่ไม่ใช้นิติบุคคล เช่น ชมรมชุมชน เป็นต้น ด้วยการทำ KYC นั่นเอง อย่างไรก็ตาม KYC ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีธนาคารหรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผู้ใช้งานจะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้าหรือ CDD ที่ย่อมาจาก Customer Due Diligence เป็นต้น
ธนาคารและสถาบันทางการเงินใดบ้างที่ต้องทำ KYC และ CDD
สำหรับธนาคารและสถาบันทางการเงินที่ต้องทำ KYC และ CDD ภายใต้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มี 3 หน่วยงาน ดังต่อไปนี้
- สถาบันทางการเงิน
- บริษัทที่ปรึกษาทางด้านการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต)
- บริษัทให้บริการ อีเพย์เมนท์ (e-payment) การให้บริการด้านการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
รู้ก่อนไปธนาคาร การทำ KYC ของสถาบันการเงินมีการตรวจสอบอะไรกันบ้าง!?
ก่อนที่จะเข้าไปข้อใช้บริการกับทางธนาคาร ขอแนะนำว่าให้ทำการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการกรอกแบบฟอร์ม KYC กันก่อน โดยทั่วไปแล้วแบบฟอร์ม KYC ของทุกธนาคารจะมีการใช้เอกสารประกอบการพิจารณาและการกรอกข้อมูลที่ค่อนข้างใกล้เคียงกันตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
เอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : บุคคลธรรมดา
โดยทั่วไปแล้วเอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร สำหรับบุคคลธรรมดานั้น จำเป็นจะต้องกรอกข้อมูลและมีเอกสาร ดังต่อไปนี้
- เอกสาร เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรอื่นๆ
- ชื่อ-นามสกุล
- ประวัติส่วนตัว
- ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
- ที่อยู่ปัจจุบันในประเทศไทย (ที่ติดต่อได้)
- ชื่อสถานที่ทำงาน
- อาชีพ
- แหล่งที่มาของรายได้
- ประเทศแหล่งที่มาของรายได้
เอกสารประกอบแบบฟอร์ม KYC ของธนาคาร : นิติบุคคล
- สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ไม่เกิน 6 เดือน
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประเภทของบริษัท
- ชื่อบริษัท
- ประเภทของกิจการ
- ประเทศที่ทำธุรกิจ
- รายได้ประมาณ
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
- สถานที่ตั้ง
บทสรุปส่งท้าย : การทำ KYC กับธนาคารและสถาบันทางการเงินช่วยปกป้องอาชญากรรมทางการเงินได้จริงหรือเปล่า!?
มาตรการ KYC… ของธนาคารและสถาบันทางการเงิน แม้จะไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่าช่วยในการป้องกันปัญหาได้อย่างเต็ม 100% แต่ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ที่จะช่วยลดความเสี่ยงให้น้อยลง ด้วยการเพิ่มขั้นตอนที่วุ่นวายจนทำให้เหล่าอาชญากรทางการเงินต้องปวดหัวมากขึ้น ในขณะเดียวกันในปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำ ของธนาคารและสถาบันทางการเงินเองก็มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยอุดช่องว่างที่ผู้ไม่ประสงค์ดีใช้เป็นโอกาสในการเข้ามาล้วงข้อมูล หรือทำการฟอกเงินที่เป็นการบ่อนทำลายประเทศชาติต่อไป