Contents
- 1 เจาะลึก KYC และ CDD กับประโยชน์น่าสนใจ ที่จะช่วยให้การทำธุรกรรมปลอดภัยยิ่งขึ้นกว่าเดิม
- 2 KYC (Know Your Customer) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร!?
- 3 e-KYC คืออะไร!? มีความสำคัญอย่างไร!?
- 4 CDD (Customer Due Diligence) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร!?
- 5 ขั้นตอนในการทำ CDD
- 6 1.ทำ CDD ด้วยการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงในการฟอกเงินของลูกค้า
- 7 2.ทำ CDD ด้วยการทบทวนข้อมูลของลูกค้าและปรับปรุงระดับความเสี่ยงในการฟอกเงินของลูกค้า
- 8 3.ทำ CDD ด้วยการตรวจสอบ Sanction List
- 9 4.ทำ CDD ด้วยการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
- 10 บทสรุปส่งท้าย : KYC และ CDD สำคัญหรือเปล่า!?
เจาะลึก KYC และ CDD กับประโยชน์น่าสนใจ ที่จะช่วยให้การทำธุรกรรมปลอดภัยยิ่งขึ้นกว่าเดิม
KYC และ CDD... สองชื่อย่อนี้ อาจเป็นสิ่งที่ฟังดูคุ้นหูกับคนที่คลุกคลีอยู่กับเรื่องของการเงินเป็นอย่างดี แต่สำหรับคนทั่วไปที่พึ่งให้ความสนใจกับเรื่องของการเงินอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับชื่อของ KYC และ CDD นัก ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยไขความกระจ่างเกี่ยวกับสองตัวย่อนี้ บทความชิ้นนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจของ KYC และ CDD มาฝากเพื่อเป็นความรู้กัน
KYC (Know Your Customer) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร!?
KYC ย่อมาจากคำว่า “Know Your Customer” หากแปลเป็นไทยอย่างตรงตัวก็คือ “กระบวนการทำความรู้จักกับลูกค้า” ที่ช่วยในการระบุและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) นอกจากนี้ KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอีกด้วย อย่างไรก็ตาม KYC โดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีธนาคารหรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผู้ใช้งานจะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้าหรือ CDD ที่ย่อมาจาก Customer Due Diligence ที่เป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการโจรกรรมอีกด้วย
e-KYC คืออะไร!? มีความสำคัญอย่างไร!?
e-KYC คือ การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic Know-Your-Customer) หรือ การทำความรู้จักกับลูกค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการระบุตัวตนและยืนยันตัวตนที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม แทนการทำ KYC แบบเดิม ที่มีความยุ่งยากเสียเวลา เพราะจะต้องให้ผู้ทำการยืนยันตัวตนต้องทำการกรอกข้อมูล ส่งเอกสาร รวมไปถึงการเดินทางไป “แสดงตัวตน” ต่อหน้าของเจ้าหน้าที่สถาบันทางการเงิน
CDD (Customer Due Diligence) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร!?
CDD ย่อมาจากคำว่า Customer Due Diligence คือ การที่ผู้ใช้บริการต้องทำการเปิดเผยข้อมูลและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้า เพื่อเป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากถูกโจรกรรม รวมไปถึง การตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า และตรวจสอบข้อมูลแสดงตนที่ลูกค้าให้ไว้กับทางธนาคาร เพื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และธุรกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ให้มีความสอดคล้องกับกิจการของลูกค้า ลูกค้าทุกรายที่ติดต่อทำธุรกรรมกับธนาคาร
ขั้นตอนในการทำ CDD
สำหรับขั้นตอนที่สำคัญในการทำ CDD ของสถาบันทางการเงินนั้น จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.ทำ CDD ด้วยการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงในการฟอกเงินของลูกค้า
โดยทำการแบ่งระดับความเสี่ยงในการฟอกเงินออกเป็นระดับต่างๆ เช่น ระดับต่ำ ระดับปานกลางหรือระดับสูง เป็นต้น โดยทางธนาคารจะใช้เกณฑ์ในการประเมินความเยงในการฟอกเงินของลูกค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมไทยกำหนด โดยที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีข้อมูล เช่น อาชีพ ประเภทธุรกิจของลูกค้า ที่อยู่ หรือที่ตั้งกิจการ และในกรณีที่ลูกค้าเป็นนิติบุคคล ทางสถาบันการเงินจะต้องมีข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงของผู้ที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลรายนั้นด้วย
2.ทำ CDD ด้วยการทบทวนข้อมูลของลูกค้าและปรับปรุงระดับความเสี่ยงในการฟอกเงินของลูกค้า
เป็นการอัปเดตฐานข้อมูลของลูกค้าให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจมีการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนข้อมูลลูกค้าและปรับเปลี่ยนระดับความเสี่ยงในการฟอกเงิน
3.ทำ CDD ด้วยการตรวจสอบ Sanction List
ธนาคารจะต้องทำการตรวจสอบว่าลูกค้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำความผิดในโทษฐานการฟอกเงิน ก่อนที่ธนาคารจะเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการเงินกับลูกค้า เช่น
- การกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน
- การกระทำความผิดฐานสนับสนุนทางการการเงินแก่การก่อการร้าย
- อยู่ในกลุ่มบัญชีรายชื่อเฝ้าระวังจากทางการและ ปปง. (รายชื่อในปัจจุบันและรายชื่อที่จะเกิดใหม่ในอนาคต)
4.ทำ CDD ด้วยการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
ธนาคารจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าลักษณะธุรกรรมแบบใดในผลิตภัณฑ์ของธนาคารที่เห็นว่าเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการฟอกเงิน และต้องทำการรายงานให้ ปปง. ทราบ
บทสรุปส่งท้าย : KYC และ CDD สำคัญหรือเปล่า!?
KYC และ CDD... เป็นสิ่งที่เรียกได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจะเป็นการป้องกันไม่ให้มีการนำช่องทางธุรกรรมทางการเงินไปใช้อย่างผิดกฎหมายอย่างเช่น การฟอกเงินหรือนำเงินไปเป็นทุนสนับสนุนการก่อการร้ายแล้ว ยังเป็นการช่วยปกป้องข้อมูลและการเงินของลูกค้าผู้ใช้บริการไม่ให้ถูกโจรกรรมนำไปใช้ธุรกรรมทางการเงินอันไม่น่าพึงประสงค์ได้เป็นอย่างดี...