Contents
- 1 เจาะลึกระบบ e-KYC และขั้นตอนน่ารู้ควรรู้!!!
- 2 มารู้จักกับระบบ e-KYC กันก่อน
- 3 ขั้นตอนการทำ e-KYC ในประเทศไทยอยู่ในระดับใดกัน!?
- 4 ขั้นตอนในการทำ e-KYC มีอะไรกันบ้าง!?
- 5 1.ขั้นตอนของระบบ e-KYC Biometric Authentication
- 6 2.ขั้นตอนของระบบ e-KYC Digital ID verification
- 7 3.ขั้นตอนของระบบ e-KYC Geolocation and Identity Verification
- 8 ข้อด้อยของขั้นตอนการทำ e-KYC
- 9 ขั้นตอนการจัดการความเสี่ยงในการทำ e-KYC
- 10 บทสรุปส่งท้าย : e-KYC ขั้นตอนยากไหม!? และจะนำมาใช้ในประเทศไทยได้จริงหรือเปล่า!?
เจาะลึกระบบ e-KYC และขั้นตอนน่ารู้ควรรู้!!!
สำหรับคนที่ให้ความสนใจในเรื่องของการเงิน... ระบบ e-KYC เป็นหนึ่งในเรื่องที่ควรรู้และทำความเข้าใจอย่างเหมาะสมเป็นอย่างมากเลยทีเดียว เพราะในอนาคตอันใกล้นี้ระบบ e-KYC จะกลายมาเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่มีความใกล้ชิดอย่างมากสำหรับการทำธุรกรรมด้านการเงิน ส่วนระบบ e-KYC จะมีความน่าสนใจเพียงใด รวมไปถึงมีขั้นตอนอะไรที่ควรรู้กันบ้าง!? รับรองว่าบทความชิ้นนี้จะช่วยไขปริศนาคาใจให้ได้อย่างแน่นอน...
มารู้จักกับระบบ e-KYC กันก่อน
e-KYC เป็นระบบยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic Know-Your-Customer) หรือ การทำความรู้จักกับลูกค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการระบุตัวตนและยืนยันตัวตนที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม แทนการทำ KYC แบบเดิม ที่มีความยุ่งยากเสียเวลา เพราะจะต้องให้ผู้ทำการยืนยันตัวตนต้องทำการกรอกข้อมูล ส่งเอกสาร รวมไปถึงการเดินทางไป “แสดงตัวตน” ต่อหน้าของเจ้าหน้าที่สถาบันทางการเงิน
ขั้นตอนการทำ e-KYC ในประเทศไทยอยู่ในระดับใดกัน!?
สำหรับขั้นตอนการทำ e-KYC ในประเทศไทยนั้นต้องยอมรับกันก่อนว่ายังอยู่ในระยะการเริ่มต้น ที่จำเป็นจะต้องมีการหารือระหว่างกันถึงวิธีการ รวมไปถึงการพิจารณานำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้กันอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือ เพราะในปัจจุบันการทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และการออนไลน์ เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นอย่างมากนั่นเอง
นอกจากนี้ทางงธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการออกประกาศฉบับ ธปท.ที่ สนส.7/2559 ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การรับฝากเงินจากประชาชน ทำให้เป็นการเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินตามกฎหมายเปิดบัญชีรับฝากเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว โดยอนุญาตเฉพาะลูกค้าบุคคลธรรมดาและสถาบันการเงินจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนการทำ KYC ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าการพบลูกค้าต่อหน้า และมีการบริหารความเสี่ยงที่เข้มขึ้น ในฐานะของช่องทางใหม่ที่ต้องยื่นขออนุญาต
ขั้นตอนในการทำ e-KYC มีอะไรกันบ้าง!?
สำหรับการทำ e-KYC ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่แล้วจะมีขั้นตอนและการนำเทคโนโลยีที่น่าสนใจมาใช้ ดังต่อไปนี้
1.ขั้นตอนของระบบ e-KYC Biometric Authentication
เป็นเทคโนโลยีป้องกันการทำ KYC ด้วยการเข้าระบบผ่านการยืนยันตัวตนโดยอาศัยข้อมูลทางชีวมิติ เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา การจดจำใบหน้า เป็นต้น
2.ขั้นตอนของระบบ e-KYC Digital ID verification
การยืนยันตัวตนโดยอาศัยถ่ายภาพหนังสือเดินทาง (Passport) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรเครดิต เป็นต้น เพื่อส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนต่อไป
3.ขั้นตอนของระบบ e-KYC Geolocation and Identity Verification
เป็นการยืนยันตัวตน ด้วยการนำสถานที่ในการทำธุรกรรม เข้ามาช่วยในการตรวจสอบอีกชั้นหนึ่งของ Mobile APP ว่าที่อยู่ ณ บริเวณนั้น มีการทำธุรกรรมจริงๆ
ข้อด้อยของขั้นตอนการทำ e-KYC
เมื่อมีข้อดี ทุกเรื่องในโลกนี้ก็ย่อมต้องมีข้อด้อยเป็นของคู่กัน ถึงแม้ว่าขั้นตอนการทำ e-KYC จะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีข้อด้อยที่ควรทราบเช่นกัน โดยเฉพาะการทำ e-KYC กับ “ลูกค้าใหม่” ที่จะทำให้สถาบันทางการเงินไม่ได้พบหน้าของลูกค้า และประเด็นของความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยี ที่จำเป็นจะต้องได้รับการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างรัดกุม แต่ก็อาจเกิดช่องโหว่ในผู้ไม่หวังดี นำไปใช้เพื่อหาผลประโยชน์ให้กับตัวเองได้เช่นกัน
ขั้นตอนการจัดการความเสี่ยงในการทำ e-KYC
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่า ถึงแม้ขั้นตอน e-KYC จะมีความเสี่ยงบ้าง แต่สถาบันทางการเงินก็สามารถที่จะทำการอุดช่องว่างที่อาจเกิดขึ้นในเทคโนโลยีได้ ด้วยการคำนึงถึงความเสี่ยงต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ด้านคุณภาพของอุปกรณ์
- เครื่องมือที่นำมาใช้
- ทักษะและความชำนาญของบุคลากร
- วิธีและขั้นตอนในการตรวจสอบข้อมูลแสดงตัวตน
- ความถูกต้องของเอกสารการแสดงตัวตนและการตรวจสอบว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับในเอกสารแสดงตัวตนหรือเปล่า
- ขั้นตอนการให้ลูกค้าทำการยืนยันตัวตนระหว่างการเก็บข้อมูล
- ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่รัดกุมอย่างเพียงพอ
- การเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า
บทสรุปส่งท้าย : e-KYC ขั้นตอนยากไหม!? และจะนำมาใช้ในประเทศไทยได้จริงหรือเปล่า!?
โดยรวมแล้ว.. ขั้นตอนการทำ e-KYC นับว่าเป็นมาตรฐานใหม่ในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ได้รับการยอมรับอย่างมากจากทั่วโลก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมากที่สถาบันทางการเงินในประเทศไทยจะต้องให้การยอมรับ ปรับตัวและมองหามาตรฐานที่ยอมรับได้ มาช่วยให้ขั้นตอนการทำ e-KYC กลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายและดีที่สุดสำหรับลูกค้าในอนาคตอันใกล้นี้...