Contents
- 1 การรีไฟแนนซ์บ้าน สามารถช่วยปิดหนี้บัตรเครดิตได้อย่างไร!? บทความนี้รวมทุกคำตอบน่ารู้มาฝากกัน
- 2 การรีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร!?
- 3 การรีไฟแนนซ์บ้านช่วยปิดหนี้บัตรเครดิตไอ้อย่างไร!?
- 4 ก่อนทำการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อปิดหนี้บัตรเครดิต มีเรื่องอะไรที่ควรทราบกันบ้าง!?
- 5 1.ก่อนรีไฟแนนซ์บ้านปิดหนี้บัตรเครดิต : คำนวณค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการ
- 6 2.ก่อนรีไฟแนนซ์บ้านปิดหนี้บัตรเครดิต : ควรทำหลังจากครบ 3 ปี
- 7 3.ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน ปิดหนี้บัตรเครดิต : ตรวจสอบให้มั่นใจว่าจ่ายหนี้ไหว
- 8 บทสรุปส่งท้าย : การรีไฟแนนซ์บ้านปิดหนี้บัตรเครดิตไม่ยาก ขอเพียงแค่เข้าใจขั้นตอน
การรีไฟแนนซ์บ้าน สามารถช่วยปิดหนี้บัตรเครดิตได้อย่างไร!? บทความนี้รวมทุกคำตอบน่ารู้มาฝากกัน
เมื่อเกิดปัญหาหนี้บัตรเครดิตรุมเร้า... หลายคนอาจมองหาช่องทางในการชำระขจัดหนี้ให้หมดไป บางคนเลือกใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ในขณะที่หลายคนเลือกที่จะใช้สินเชื่อรถยนต์แลกเงินที่ได้รับเงินก้อนอนุมัติอย่างรวดเร็วมาโปะ! ปิด! หนี้บัตรเครดิต
นอกจากวิธีการในข้างต้นแล้ว ยังมีทางเลือกอื่นที่น่าสนใจในการปิดหนี้บัตรเครดิตที่เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจไม่แพ้กันและเป็นวิธีที่หลายคนอาจมักมองข้ามไปอย่างน่าเสียดายนั่นก็คือการ “รีไฟแนนซ์บ้าน” เพื่อทำการปิดหนี้บัตรเครดิตนั้นเอง ส่วนการรีไฟแนนซ์บ้านปิดหนี้บัตรเครดิตจะมีความน่าสนใจ รวมไปถึงขั้นตอนอย่างไรกันบ้างนั้น ลองมาติดตามจากบทความชิ้นนี้กันได้เลย
การรีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร!?
อธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายดาย การรีไฟแนนซ์บ้าน คือ การยื่นเรื่องเพื่อขอทำการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือธนาคารแห่งใหม่ เพื่อนำมาจ่ายให้กับสถาบันการเงินเดิม โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดอัตราดอกเบี้ยให้น้อยลงและมียอดเงินที่ต้องชำระคืนรายเดือนที่น้อยลง ซึ่งทำให้สามารถหมุนเวียนเงินในแต่ละเดือนได้ง่ายดายมากขึ้นนั่นเอง
การรีไฟแนนซ์บ้านช่วยปิดหนี้บัตรเครดิตไอ้อย่างไร!?
หลายคนอาจเริ่มเกิดความสงสัยแล้วว่า การรีไฟแนนซ์บ้านจะสามารถช่วยปิดหนี้บัตรเครดิตได้อย่างไรกันบ้าง!?
หลักการนั้นง่ายมาก กล่าวคือเมื่อทำการขอกู้เงินจากธนาคารใหม่ ส่วนใหญ่แล้วทรัพย์สินประเภทบ้านและที่อยู่อาศัยเมื่อเวลาผ่านไปก็จะมีราคาเพิ่มมากขึ้นตามสภาพแวดล้อมโดยรอบ ยิ่งมีความเจริญเข้าถึงมากเท่าไหร่ราคาก็จะยิ่งสูงมากขึ้นตามไปด้วยเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อทำเรื่องขอกู้เงินจากธนาคารใหม่ เมื่อนำมาลบหนี้กับธนาคารเดิมที่ยังเหลืออยู่ก็สามารถที่จะได้รับเงินในจำนวนส่วนต่างจำนวนหนึ่งจากราคาเดิม เพราะธนาคารใหม่มักจะประเมินในราคาที่สูงขึ้นตามราคาในปัจจุบัน ในขณะที่ของธนาคารเดิมจะยังเป็นราคาในอดีต จำนวนเงินส่วนต่างนี้จะกลายเป็นเงินก้อนแบบอเนกประสงค์ที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้ตามความต้องการและนำไปปิดหนี้บัตรเครดิตได้นั่นเอง
ก่อนทำการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อปิดหนี้บัตรเครดิต มีเรื่องอะไรที่ควรทราบกันบ้าง!?
สำหรับคนที่กำลังให้ความสนใจอยากที่จะปิดหนี้บัตรเครดิตด้วยการรีไฟแนนซ์บ้าน มีเรื่องที่ควรทราบก่อนการตัดสินใจขอกู้สินเชื่อดังต่อไปนี้
1.ก่อนรีไฟแนนซ์บ้านปิดหนี้บัตรเครดิต : คำนวณค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการ
ในการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านจะต้องคิดถึงในส่วนของค่าดำเนินการ ค่าธรรมเนียมรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วย เพราะค่าใช้จ่ายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นค่าธรรมเนียมแฝงที่จะทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าขึ้น โดยเฉพาะถ้าหากเลือกที่จะรีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบ 3 ปี ก็อาจต้องเสียค่าปรับด้วยเช่นกัน ทำให้เงินส่วนต่างที่ได้รับอาจไม่เพียงพอสำหรับการปิดหนี้บัตรเครดิต
2.ก่อนรีไฟแนนซ์บ้านปิดหนี้บัตรเครดิต : ควรทำหลังจากครบ 3 ปี
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่า การขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านที่ดีควรทำหลังจากที่ครบกำหนดสัญญา 3 ปี เพื่อให้ไม่ต้องเสียค่าปรับในการดำเนินการ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมากเลยทีเดียว
3.ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน ปิดหนี้บัตรเครดิต : ตรวจสอบให้มั่นใจว่าจ่ายหนี้ไหว
ควรตรวจสอบความสามารถในการชำระเงินคืนหลังจากที่ทำการขอกู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อนำมาจ่ายหนี้บัตรเครดิตให้ดีเสียก่อนว่าตัวเองมีความสามารถที่เพียงพอหรือไม่ เพราะถ้าหากทำไม่ได้ก็อาจทำให้หนี้สินเกิดการสะสมจนกระทั่งกลายเป็นดินพอกหางหมู ถูกฟ้องศาลยึดบ้านในฝันได้เช่นกัน ทำให้เป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก
บทสรุปส่งท้าย : การรีไฟแนนซ์บ้านปิดหนี้บัตรเครดิตไม่ยาก ขอเพียงแค่เข้าใจขั้นตอน
หลังจากที่ได้ทราบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อนำมาปิดหนี้บัตรเครดิตในข้างต้นไปแล้วจะเห็นได้ว่าที่จริงแล้วการขอปิดหนี้บัตรเครดิตด้วยวิธีนี้ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด แต่ก็ไม่อยากให้ทำการขอรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อจุดประสงค์ในการปิดหนี้บัตรเครดิตเป็นหลัก ทั้งสองส่วนนี้ควรทำควบคู่กันในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะเป็นการดีกว่า เพราะไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการขอสินเชื่อแบบพร่ำเพรื่อซึ่งไม่เกิดประโยชน์มากนัก เพราะการรีไฟแนนซ์บ้านเองก็มีค่าธรรมเนียม-ค่าดำเนินการในการรีไฟแนนซ์บ้านด้วยเช่นกัน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำบ่อย ๆ...