Contents
- 1 บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร ทำไมถึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนรุ่นใหม่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง!?
- 2 บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร!?
- 3 ข้อดีของระบบบล็อกเชน (Blockchain)
- 4 ต้นกำเนิดของระบบบล็อกเชน (Blockchain)
- 5 บล็อกเชน (Blockchain) กับการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ทั่วโลก
- 6 บทสรุปส่งท้าย : ระบบบล็อกเชน (Blockchain) ช่วยให้การลงทุนกับสกุลเงินดิจิทัลปลอดภัยมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม!
บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร ทำไมถึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนรุ่นใหม่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง!?
ในอดีตหากกล่าวถึงการลงทุน คนส่วนใหญ่ก็มักจะคิดถึงเพียงแค่การซื้อหุ้นและการเก็งกำไรจากอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันคงต้องยอมรับว่าด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้สร้างสรรค์หนทางในการลงทุนใหม่ ๆ ให้มากขึ้นตามไปด้วย
“สกุลเงินดิจิทัล” เองก็เป็นหนึ่งในหนทางของการลงทุนที่น่าสนใจ แถมยังมีให้เลือกลงทุนหลากหลายสกุลอีกด้วย แต่ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนกับสกุลเงินดิจิทัลอยากให้คุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีที่ใช้ควบคุมและรักษาความปลอดภัยให้กับสกุลเงินดิจิทัลที่รู้จักกันในชื่อของ “บล็อกเชน” (Blockchain) กันก่อน ส่วนจะมีประเด็นอะไรน่าสนใจ ควรทำความรู้จักกันบ้างนั้นมาติดตามอ่านจากบทความชิ้นนี้กันได้เลย
บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร!?
กล่าวโดยสรุป บล็อกเชน (Blockchain) คือ “เทคโนโลยีในการเชื่อมโยงข้อมูลของสมาชิกในเครือข่ายเข้าด้วยกัน” หรือในทางเทคนิคเป็นเทคโนโลยีในการประมวลผลและเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์หรือ Distributed Ledger Technology (DLT) ทำให้ข้อมูลที่ถูกบันทึกเอาไว้ภายในบล็อกเชน (Blockchain) สามารถทำการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้ยาก ในขณะเดียวกันข้อมูลก็มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือสูงด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเหตุผลสำคัญจริง ๆ ที่ทำให้ระบบบล็อกเชน (Blockchain) ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ เป็นเทคโนโลยีในการกระจายอำนาจที่ไม่สามารถถูกแทรกแซงจากรัฐ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นถูกจัดการด้วยตัวเครือข่ายเองอย่างอิสระ
ข้อดีของระบบบล็อกเชน (Blockchain)
เพื่อให้สามารถเข้าใจเกี่ยวกับระบบของบล็อกเชน (Blockchain) ได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสม สามารถทำการสรุปจุดเด่นที่น่าสนใจของระบบบล็อกเชน (Blockchain) เป็นข้อ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
- ระบบบล็อกเชน (Blockchain) ข้อมูลที่ได้รับการบันทึกเอาไว้ภายในทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง
- ระบบบล็อกเชน (Blockchain) มีความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลสูง ช่วยลดความผิดพลาดของข้อมูลในน้อยลง
- ระบบบล็อกเชน (Blockchain) ไม่สามารถล่มพร้อมกันทั้งหมดได้ เนื่องจากเป็นลักษณะของการแชร์ข้อมูลร่วมกันของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- บล็อกเชน (Blockchain) เป็นการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น ธนาคาร เป็นต้น
- บล็อกเชน (Blockchain) ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการใช้งานจากการแปลงสกุลเงิน ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นกว่าเดิม
- บล็อกเชน (Blockchain) ทุกคนสามารถเข้าร่วมการใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน
- บล็อกเชน (Blockchain) มีการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็วและสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่จำเป็นจะต้องประมวลผลผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง แต่เป็นการใช้ระบบเครือข่ายทั้งหมดช่วยกันประมวลผลร่วมกัน
ต้นกำเนิดของระบบบล็อกเชน (Blockchain)
ระบบบล็อกเชน (Blockchain) ถูกสร้างขึ้นในปี 2008 โดยบุคคลที่ใช้ชื่อว่า “Satoshi Nakamoto” ผู้มีแนวคิดในการสร้างสกุลเงินดิจิทัลที่ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นเจ้าของและใช้งานได้ระหว่างกันโดยไม่ต้องพึ่งตัวกลาง ไม่ถูกควบคุมจากรัฐบาล ทำให้สกุลเงินดิจิทัลแรกของโลกที่มีชื่อว่า “Bitcoin” ถือกำเนิดขึ้นมาและได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน...
บล็อกเชน (Blockchain) กับการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ทั่วโลก
นอกจากวงการสกุลเงินดิจิทัล ระบบบล็อกเชน (Blockchain) ยังถูกนำมาใช้อย่างหลากหลายในวงการอุตสาหกรรมทั่วโลกเพื่อช่วยในการตรวจสอบความแม่นยำ รักษาความปลอดภัยและความโปร่งใสของข้อมูล เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจโรงพยาบาล ธุรกิจการค้าปลีก ธุรกิจพลังงานและธุรกิจการศึกษา เป็นต้น ซึ่งบางบริษัทในแวดวงธุรกิจเหล่านี้ในประเทศไทยเองก็ได้เริ่มนำระบบบล็อกเชน (Blockchain) มาปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองแล้วด้วยเช่นกัน
บทสรุปส่งท้าย : ระบบบล็อกเชน (Blockchain) ช่วยให้การลงทุนกับสกุลเงินดิจิทัลปลอดภัยมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม!
จากข้อมูลที่ได้กล่าวถึงกันไปแล้วในข้างต้นจะเห็นได้ว่าบล็อกเชน (Blockchain) มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก แถมยังช่วยในการยกระดับความปลอดภัยให้กับการทำธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลได้อย่างน่าสนใจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าระบบบล็อกเชน (Blockchain) จะช่วยการันตีความปลอดภัยจากราคาของสกุลเงินดิจิทัลที่มีความอ่อนไหวผันผวนไปกับความต้องการของตลาด
ดังนั้น ถ้าหากใครอยากที่จะก้าวเข้ามาในตลาดสกุลเงินดิจิทัลก็ควรศึกษาหาข้อมูลให้ดีและเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพราะอย่างไรเสียเมื่อขึ้นชื่อว่าการลงทุนไม่ว่าจะกับสิ่งใดก็มีโอกาสที่จะได้พบกับผลกำไรหรือขาดทุนได้เช่นกัน...