Contents
- 1 มาทำความรู้จักกับประกันชีวิต ช.พ.ค. ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรให้ความใส่ เตรียมไว้สำหรับอนาคตไม่มีผิดหวัง
- 2 ประกันชีวิต ช.พ.ค. คืออะไร!?
- 3 ทายาทของสมาชิกประกันชีวิต ช.พ.ค. จะได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัวเมื่อไหร่!?
- 4 วิธีการยื่นเรื่องขอรับประกันชีวิต ช.พ.ค.โดยทายาทของผู้ทำประกัน
- 5 บทสรุปส่งท้าย : ประกันชีวิต ช.พ.ค. เหมาะกับการทำเอาไว้หรือเปล่า!?
มาทำความรู้จักกับประกันชีวิต ช.พ.ค. ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรให้ความใส่ เตรียมไว้สำหรับอนาคตไม่มีผิดหวัง
ครูและบุคลากรทางการศึกษา ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อประเทศ เพราะเป็นคนที่คอยสั่งสอนให้ความรู้กับเยาวชนรุ่นใหม่ที่จะกลายมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้สังคมได้เดินหน้าต่อไป แต่ในขณะเดียวกันบุคคลเหล่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องวางแผนในอนาคตเอาไว้ให้กับลูกหลานหลังจากที่ตัวเองจากโลกใบนี้ไปด้วยเช่นกัน
บทความในวันนี้จึงอยากพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับประกันชีวิต ช.พ.ค. หนึ่งในแผนแห่งอนาคตที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ส่วนจะมีประเด็นที่น่ารู้อะไรกันบ้างนั้น มาลองติดตามกันเลย
ประกันชีวิต ช.พ.ค. คืออะไร!?
ช.พ.ค. คือ โครงการสวัสดิการสมาชิกการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยจะมีลักษณะเป็นเหมือนกับการประกันชีวิตที่จะให้ความช่วยเหลือกรณีที่สมาชิกของ ช.พ.ค. ถึงแก่กรรม โดยช่วยเหลือค่าจัดงานศพจำนวน 200,000 บาท และเงินสงเคราะห์ครอบครัว 700,000 บาท
ทายาทของสมาชิกประกันชีวิต ช.พ.ค. จะได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัวเมื่อไหร่!?
หลังจากที่สมาชิกประกันชีวิต ช.พ.ค. ได้ถึงแก่กรรมทายาทโดยชอบธรรมจะได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว แยกออกเป็นสองกรณีคือ
- กรณีที่ไม่ได้มีการกู้เงินจะได้รับเงินหลังจากที่ประกาศรายชื่อผู้ถึงแก่กรรมประมาณ 3 เดือน
- กรณีที่มีภาระผูกพันกับเงินกู้ของธนาคารจะได้รับเมื่อธนาคารทำการตรวจสอบการปิดบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
*สำหรับการจ่ายเงินสงเคราะห์ครอบครัว จะทำด้วยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีหรือเป็นเช็คสั่งจ่ายผู้ที่มีสิทธิ์ในการรับเงิน
วิธีการยื่นเรื่องขอรับประกันชีวิต ช.พ.ค.โดยทายาทของผู้ทำประกัน
หากผู้ทำประกันชีวิต ช.พ.ค. ถึงแก่กรรม ทายาทโดยชอบธรรมสามารถที่จะทำการติดต่อเพื่อขอรับค่าจัดการงานศพและเงินสงเคราะห์ครอบครัวได้โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ผู้มีสิทธิ์ยื่นเรื่องรับเงินสงเคราะห์ประกันชีวิต ช.พ.ค.
ผู้ที่จะมีสิทธิ์ในการยื่นเรื่องเพื่อรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ต้องเป็นบุคคลในครอบครัวตามข้อ 8 หรือ 20 แห่งระเบียบ ช.พ.ค. เป็นผู้ทำหน้าที่ยื่นแบบคำร้องรับเงินสงเคราะห์ตามแบบ ฌค.8
เอกสารประกอบการยื่นเรื่องของรับเงินสงเคราะห์ประกันชีวิต ช.พ.ค.
ส่วนของสมาชิก
- แบบคำร้องขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัว ตามแบบฌค.8 ฉบับจริง
- ใบมรณบัตรฉบับจริง พร้อมสำเนา 3 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านของสมาชิกฉบับจำหน่ายตาย 2 ฉบับ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการของสมาชิก 1 ฉบับ
- ใบสำคัญการสมรสของสมาชิก (ฉบับจริง) พร้อมสำเนา หรือสำเนาทะเบียนการสมรสที่คัดมาจากกรมการปกครองหรือทะเบียนการหย่าของสมาชิก (กรณีหย่า) และใบมรณบัตรจองคู่สมรส (กรณีเสียชีวิตแล้ว) จำนวน 1 ฉบับ
- หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนขื่อตัว ชื่อสกุล ของสมาชิกสองฉบับ (กรณีที่มีการเปลี่ยน) / สำเนาทะเบียนการรับรองบุตร 1 ฉบับ (กรณีสมาชิกชายที่มีภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน)
ส่วนของทายาทผู้มีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์
- สำเนาทะเบียนบ้านของทายาทผู้มีสิทธิ์รับเงิน คนละ 2 ฉบับ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการของทายาท ผู้จัดการศพ 3 ฉบับ (ทายาทผู้มีสิทธิ์รับเงินคนละ 2 ฉบับ)
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทยประเภทออมทรัพย์ของทายาท คนละ 2 ฉบับ (ผู้จัดการงานศพ 3 ฉบับ)
- หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาทะเบียนสมรสหรือทะเบียนการหย่า (ถ้ามี) *กรณีทายาทเป็นผู้หญิง จดทะเบียนสมรสแล้วหากขอใช้นางสาวหรือสกุลเดิมต้องแนบคำขอใช้ด้วยคละ 1 ฉบับ/ สำเนาหลักฐานการเสียชีวิตของบิดามารดาของสมาชิก (กรณีบิดามารดาเสียชีวิตไปก่อนสมาชิก 1 ฉบับ) / สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนขื่อตัว – ชื่อสกุลของทายาท คนละ 1 ฉบับ (กรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อ-สกุล) และสำเนาทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (ถ้ามี)
บทสรุปส่งท้าย : ประกันชีวิต ช.พ.ค. เหมาะกับการทำเอาไว้หรือเปล่า!?
เพื่อไม่ให้เป็นภาระของลูกหลานหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว ประกันชีวิต ช.พ.ค. ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากสำหรับคนที่อยากมีเงินก้อนไว้จัดการงานศพของตัวเอง และในขณะเดียวกันก็มีเงินก้อนสำหรับเป็นทุนการศึกษาให้กับบัตรหลานต่อไปในอนาคต ถ้าหากครูและบุคลากรทางการศึกษากำลังมองหาแผนการณ์รับมือกับอนาคตที่น่าสนใจ เชื่อว่าประกันชีวิต ช.พ.ค. อาจเป็นตัวเลือกที่ไม่ควรพลาดกันอย่างแน่นอน