Contents
พันธบัตรคืออะไร คุ้มค่าต่อการลงทุนจริงหรือไม่?
พันธบัตร คือ เอกสารหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง ที่ออกโดยรัฐบาล หรือออกโดยนิติบุคคล เป็นหนี้ระยะยาวที่กู้จากกลุ่มบุคคลทั่วไป โดยมีผู้ถือบัตรเป็นประชาชน สถาบันการเงิน หรือองค์กรใด ๆ ซึ่งจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล ส่วนรัฐบาลจะมีฐานะเป็นลูกหนี้ ปัจจุบัน การลงทุนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ เป็นกระแสที่ผู้ประกอบธุรกิจและมนุษย์เงินเดือนหลายท่านได้ให้ความสนใจในช่วงนี้ และถึงแม้การลงทุนในพันธบัตรยังเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็ยังนับเป็นเรื่องของการลงทุนอยู่ การจะลงทุนทำอะไรสักอย่างนั้นจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ถูกต้อง และตัดสินใจให้ดีเสียก่อนการลงทุนทุกครั้ง ดังนั้นบทความนี้เราจะมาพูดถึง 3 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลงทุนในพันธบัตรมาให้ได้ทราบกันคร่าว ๆ จะมีอะไรบ้างนั้นมาดูกัน...
คลายข้อสงสัย พันธบัตรคืออะไรกันแน่? มาดู 3 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลงทุนในพันธบัตรกัน!!
พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรออมทรัพย์คืออะไร คงมีหลายคำถามเกิดขึ้นสำหรับกลุ่มคนที่ต้องการเริ่มต้นลงทุนในระยะแรก และไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นศึกษาข้อมูลอะไรก่อนดี ดังนั้นเราจึงนำ 3 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพันธบัตรมาให้ได้ทราบกัน รายละเอียดจะมีอะไรบ้างนั้น มาเริ่มกันที่ข้อแรกกันเลยดีกว่า!
1. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพันธบัตร: พันธบัตรรัฐบาลกับพันธบัตรออมทรัพย์แตกต่างกันอย่างไร
พันธบัตรทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรออมทรัพย์ มาดูความแตกต่างของทั้งสองพันธบัตรนี้กัน...
- พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยหน่วยงานรัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งผู้ถือ (นักลงทุน) มีสิทธิที่จะได้รับชำระต้นเงินจากทางรัฐบาลตามจำนวนที่ได้ระบุเอาไว้ ผู้ออกจะมีสถานะเป็นลูกหนี้ โดยรัฐบาลจะนำเงินที่ได้จากการขายพันธบัตรรัฐบาล ไประดมทุนลงทุนโครงการ ภารกิจ หรือใช้จ่ายหนี้ของรัฐ
- พันธบัตรออมทรัพย์ (Government Savings Bonds) คือ พันธบัตรที่ขายให้กับบุคคลทั่วไป เพื่อซื้อขายในการออมทรัพย์ ส่วนผู้ถือจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับผลตอบแทนรูปแบบดอกเบี้ย นอกจากนี้ยังคอยฟื้นฟูสถาบันการเงิน และส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมทรัพย์มากขึ้น เป็นการซื้อขายพันธบัตรที่ไม่แสวงหากำไรในสังกัดของรัฐบาล
2. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพันธบัตร: การลงทุนในพันธบัตรสามารถลงทุนได้อย่างไรบ้าง
เมื่อต้องการเข้าสู่ตลาดลงทุนเพื่อซื้อขายพันธบัตร จะแบ่งออกเป็น 2 ตลาดด้วยกัน ได้แก่ ตลาดแรก (Primary Market) และตลาดรอง (Secondary Market) เป็นตลาดเช่นเดียวกับการลงทุนประเภทอื่น ๆ โดยทั้งสองตลาดจะมีความแตกต่างกันอย่างไร เรามาเริ่มดูกัน...
- ตลาดแรก (Primary Market): เป็นการซื้อขายในตลาดลงทุนที่แท้จริง เพราะเป็นการซื้อขายระหว่างสถาบันออกพันธบัตร หรือผู้ระดมทุนสร้างสินทรัพย์ทางการเงินให้กับนักลงทุนโดยตรง โดยไม่ได้ซื้อขายผ่านบุคคลอื่น
- ตลาดรอง (Secondary Market): เป็นการซื้อขายหลังซื้อขายครั้งแรกผ่านตลาดแรก โดยไม่มีการสร้างสินทรัพย์ทางการเงินใหม่ หรือก็คือขายพันธบัตรระหว่างนักลงทุนด้วยกันเอง (แบบตกลงกันเอง) ไม่ได้ซื้อผ่านทางตลาดแรก ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ลงทุน
3. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพันธบัตร: การลงทุนในพันธบัตรเหมาะสำหรับใครบ้าง
การลงทุนในพันธบัตร เหมาะสำหรับกลุ่มคนที่ต้องการเพิ่มความปลอดภัย ให้กับการใช้ตราสารหนี้เพื่อการบริหารเงินลงทุน เพื่อให้มีกระแสเงินรับสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงทำพอร์ตการลงทุนให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบความเสี่ยง หรือต้องการความแน่นอนเรื่องของผลตอบแทนในการลงทุน เนื่องจากเงินที่ได้ลงทุนไปนั้นจำเป็นต้องมีเงินก้อน และมีระยะเวลาที่สอดคล้องกับระยะเวลาของพันธบัตรด้วยเช่นกัน
วัตถุประสงค์หลักของการออกพันธบัตรคืออะไร?
การกู้เงินของรัฐบาลภายใต้พันธบัตรนั้น มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์เอกสารทรัพย์สิน หรือตราสารหนี้ ให้เกิดรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจเรื่องของการลงทุนในตราสารหนี้ ให้แก่ประชาชนและกลุ่มบุคคลทั่วไป รวมถึงเพื่อให้ประชาชนได้ออมเงิน มีทางเลือกสำหรับการออมที่นอกเหนือจากการฝากเงินกับทางสถาบันการเงิน
สรุปส่งท้าย: การลงทุนในพันธบัตรคืออะไร? อยากทำพันธบัตรต้องศึกษาข้อมูลอะไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบให้คุณ!
การเริ่มลงทุนทุก ๆ ธุรกิจ แม้การลงทุนนั้นจะมีความเสี่ยงที่ต่ำ แต่เราจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงอยู่เสมอ ดังนั้นการศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจโดยละเอียดก็ถือเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการลงทุน เพื่อให้เกิดผลตอบแทนและสร้างประสิทธิภาพที่ดีสำหรับการลงทุนในพันธบัตรเพิ่มขึ้น หากคุณต้องการเริ่มต้นลงทุน ก็อย่าลืมเตรียมพร้อมกันด้วยนะคะ