ใบ อนุญาต ประกอบ ธุรกิจ สินทรัพย์ ดิจิทัล
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

Contents

อยากลงทุนกับสินทรัพย์ดิจิทัล ในประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตกี่ราย!? บทความนี้มีคำตอบ

ใบ อนุญาต ประกอบ ธุรกิจ สินทรัพย์ ดิจิทัล

 

การลงทุนกับทรัพย์สินดิจิทัล... หนึ่งในประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากก็คือการเลือกผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มี “ใบอนุญาต” ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสมในขณะที่ทำการลงทุน

ดังนั้น บทความในวันนี้จึงได้ทำการรวบรวมบรรดาผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทยมาฝากกัน เผื่อเอาไว้ว่าจะได้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่กำลังมองหาแหล่งการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุดและสบายใจมากที่สุด

 

Cryptocurrency ในความเห็นของ ก.ล.ต. ไทยคืออะไร!?

ใบ อนุญาต ประกอบ ธุรกิจ สินทรัพย์ ดิจิทัล

 

ทาง ก.ล.ต. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ ได้กำหนดความหมายของ Cryptocurrency เอาไว้ว่า คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการหรือสิทธิ์อื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล

นอกจากนี้ยังให้ความหมายรวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดโดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้มาซึ่งสินค้า บริการหรือสิทธิ์อื่นใด หรือการแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล และให้หมายความรวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

 

ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีใบอนุญาตถูกต้องในประเทศไทยมีที่ไหนกันบ้าง!?

ใบ อนุญาต ประกอบ ธุรกิจ สินทรัพย์ ดิจิทัล

 

เพื่อให้คุณผู้อ่านสามารถที่จะหาข้อมูลอย่างที่ต้องการได้อย่างง่ายดายมากขึ้นกว่าเดิม เลยขอทำการสรุปข้อมูลเพื่อเป็นตารางให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีใบอนุญาตในประไทยดังต่อไปนี้

 

ประเภทของธุรกิจทรัพย์สินดิจิทัล รายชื่อบริษัท
ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) 1.บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BITKUB)

2.บริษัท สตางค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Satang Pro)

3.บริษัท อีอาร์เอ็กซ์ จำกัด (ERX)

4.บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex)

5.บริษัท อัพบิต เอ็กซ์เชนจ์ (ประเทศไทย) จำกัด (Upbit)

6.บริษัท จีเอ็มโอ-แซด.คอม คริปโทนอมิคซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (Z.comEX)

นายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker) 1.บริษัท คอยส์ ทีเอช จำกัด (Coins TH)

2.บริษัท บิทาซซ่า จำกัด (Bitazza)

3.บริษัท ซาโตชิ จำกัด (KULAP)

4.บริษัท อัพบิต เอ็กซ์เชนจ์ (ประเทศไทย) จำกัด (Upbit)

5.บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex)

6.บริษัท จีเอ็มโอ-แซด.คอม คริปโทนอมิคซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (Z.comEX)

ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเค็นดิจิทัล (ICO Portal) 1.บริษัท ลองรูท (ประเทศไทย) จำกัด (Longroot)

2.บริษัท ที-บ็อกซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด (T-BOX)

3.บริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด (XSPRING Digital)

ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Dealer) บริษัท คอยส์ ทีเอช จำกัด (Coins TH)
ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล (Advisory Service) บริษัท คริปโตมาย แอดไวเซอรี่ จำกัด (Cryptomind Advisory)

 

แนวทางพิจารณาให้ใบอนุญาตสำหรับทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีอะไรบ้าง!?

ใบ อนุญาต ประกอบ ธุรกิจ สินทรัพย์ ดิจิทัล

 

ทาง ก.ล.ต. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ ได้กำหนดรูปแบบในการทำธุรกิจสำหรับเจ้าของกิจการที่ต้องการได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศเอาไว้ โดยแบ่งแนวทางในการทำธุรกิจแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้

 

1.ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลใบอนุญาต : ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล

ใบ อนุญาต ประกอบ ธุรกิจ สินทรัพย์ ดิจิทัล

 

ดำเนินงานโดยมีบริการหลักคือการให้คำแนะนำในเรื่องของคุณค่าหรือความเหมาะสมในด้านของการลงทุนทรัพย์สินดิจิทัลแบบเฉพาะเจาะจง เช่น การแนะนำรายบุคคล แนะนำให้ทำการหาประโยชน์ในลักษณะที่เป็นการวางแผนการลงทุน เป็นต้น (*บริการดังกล่าวไม่รวมไปถึงการแนะนำภาพรวมของสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการนำเสนอข้อเท็จจริงต่อผู้ใช้บริการ)

 

2.ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลใบอนุญาต : นายหน้าซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล

ใบ อนุญาต ประกอบ ธุรกิจ สินทรัพย์ ดิจิทัล

 

ให้บริการในฐานะของ “นายหน้า” โดยทำการชี้ช่องทางให้กับลูกค้า หรือทำหน้าที่เป็น “ตัวแทน” ของลูกค้าในการลงทุนกับสินทรัพย์ดิจิทัล

 

3.ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลใบอนุญาต : ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล

ใบ อนุญาต ประกอบ ธุรกิจ สินทรัพย์ ดิจิทัล

 

ทำหน้าที่เป็นคู่สัญญาชื้อ-ขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลให้กับลูกค้าภายในนามของตัวเอง

 

4.ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลใบอนุญาต : ศูนย์ซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล

ใบ อนุญาต ประกอบ ธุรกิจ สินทรัพย์ ดิจิทัล

 

ให้บริการในฐานะการเป็นศูนย์กลางหรือเครือข่าย ในการซื้อ-ขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีการจับคู่หรือจัดระบบการซื้อขายหรืออำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการซื้อ-ขายและแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล

 

5.ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลใบอนุญาต : ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล

ใบ อนุญาต ประกอบ ธุรกิจ สินทรัพย์ ดิจิทัล

 

ทำหน้าที่ในการรับเงินหรือทรัพย์สินของลูกค้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดิจิทัล

 

บทสรุปส่งท้าย : การลงทุนกับทรัพย์สินดิจิทัลมีความเสี่ยง แต่การเลือกผู้ประกอบการธุรกิจที่มีใบอนุญาตช่วยลดความเสี่ยงให้น้อยลงได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ตลาดทรัพย์สินดิจิทัลเองก็ยังถือว่ามีความผันผวนอยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินจะก้าวเข้ามาลงทุนก็อย่าลืมทำการศึกษาอย่างรอบด้าน เพื่อที่จะได้ช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นให้น้อยลงกว่าเดิม และเลือกผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีใบอนุญาติ เพื่อเสริมความมั่นใจให้มากกว่าเดิมจะเป็นการดีที่สุด...

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ