Contents
- 1 อยากลงทุน-เก็งกำไรกับบิทคอยน์ ในประเทศไทยผิดกฎหมายไหม!? มาฟังข้อมูลน่าสนใจที่รวบรวมมาฝากกันในปี 2022
- 2 ในประเทศไทยให้การยอมรับบิทคอยน์ตามกฎหมายในระดับไหน มีการส่งเสริมหรือมองว่าผิดไหม!?
- 3 ภาคเอกชนมีท่าทีกับกฎหมายเกี่ยวกับบิทคอยน์ของรัฐบาลมากแค่ไหน ต่อให้ผิดจะมีทิศทางอย่างไร!?
- 4 แนวโน้มการเสียภาษีบิทคอยน์ตามกฎหมายในประเทศไทย ต่อให้ผิดก็ต้องเสียภาษีหรือเปล่า!?
- 5 บทสรุปส่งท้าย : บิทคอยน์ผิดกฎหมายในประเทศไทยไหม!?
อยากลงทุน-เก็งกำไรกับบิทคอยน์ ในประเทศไทยผิดกฎหมายไหม!? มาฟังข้อมูลน่าสนใจที่รวบรวมมาฝากกันในปี 2022
บิทคอยน์... เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ณ ปัจจุบัน ถึงขนาดที่มันได้รับการขนานนามว่าเป็น “ทองคำ” ของสกุลเงินดิจิทัลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้และปราศจากควบคุมจากทางภาครัฐ เป็นต้นแบบของสกุลเงินดิจิทัลในรูปแบบของ Blockchain ที่ทำให้เกิดเงินดิจิทัลมากมายขึ้นในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามม หลายคนที่กำลังอยากจะใช้งานบิทคอยน์ หรือเข้ามาลงทุน-เก็งกำไร ในตลาดของสกุลเงินดิจิทัลก็อาจจะมีคำถามที่ค่อนข้างคล้ายกันก็คือบิทคอยน์ผิดกฎหมายในประเทศไทยไหม!? เพื่อที่จะได้มั่นใจได้ว่าการลงทุนของตัวเองไม่สูญเปล่าและไม่เสี่ยงต่อการถูกจับกุมตัวเพราะทำผิดกฎหมายการเงิน ถ้าหากใครมีคำถามว่าบิทคอยน์ผิดกฎหมายไหม!? ลองมาติดตามอ่านข้อมูลที่น่าสนใจต่อไปนี้กันเลย
ในประเทศไทยให้การยอมรับบิทคอยน์ตามกฎหมายในระดับไหน มีการส่งเสริมหรือมองว่าผิดไหม!?
สำหรับประเทศไทยทางธนาคารกลางยังไม้ได้ให้การยอมรับให้บิทคอยน์เข้ามาเป็นสื่อกลางในการชำระสินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้ “ความเสี่ยง” ที่เกิดขึ้นจากการนำบิทคอยน์มาใช้ชำระแทนเงินกับบริษัทที่เปิดรับเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานและผู้ให้บริการต้องยอมรับความเสี่ยงด้วยตัวเอง
หากอ้างตามข่าว ธปท. ฉบับที่ 8 /2557 เรื่องข้อมูลเกี่ยวกับบิทคอยน์และหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ มีลักษณะใกล้เคียงกันว่า
“บิทคอยน์และหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันไม่ถือว่าเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย มูลค่าของหน่วยข้อมูลดังกล่าวแปรผันไปตามความต้องการของกลุ่มคนที่มีการซื้อขายหน่วยข้อมูล มูลค่าจึงเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าได้เมื่อไม่มีผู้ต้องการ และ ธปท. ได้แนะนำให้ประชาชนทั่วไประมัดระวัง ศึกษาข้อและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการถือครองหรือใช้หน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว”
การแถลงการณ์ดังกล่าว เป็นการแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าบิทคอยน์ยังไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ได้รับการยอมรับในฐานะจองเงินตราหรือเงินเสมือนที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับเงินจริงเพื่อทำการซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการได้นั่นเอง
ภาคเอกชนมีท่าทีกับกฎหมายเกี่ยวกับบิทคอยน์ของรัฐบาลมากแค่ไหน ต่อให้ผิดจะมีทิศทางอย่างไร!?
ท่าทีของรัฐบาลไทยเองก็ถือว่าค่อนข้างที่จะสอดคล้องกับธนาคารในหลายประเทศของทวีปยุโรป แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาดเหมือนกับของรัฐบาลจีน แต่ดูเหมือนว่าภาคเอกชนในประเทศไทยจะยังคงมีความพยายามอย่างมากในการผลักดันให้บิทคอยน์กลายมาเป็นหนึ่งในการลงทุนทางด้านตลาดดิจิทัลที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุดคือ ยักษ์ใหญ่อย่างสถาบันการเงินชั้นนำ “ธนาคารไทยพาณิชย์” ที่ได้เข้าร่วมซื้อหุ้นกับกระดานเทรดคริปโตชั้นนำของประเทศไทยอย่าง Bitkub ไปมากถึง 51% อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นเกี่ยวกับบิทคอยน์และคริปโตอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
แนวโน้มการเสียภาษีบิทคอยน์ตามกฎหมายในประเทศไทย ต่อให้ผิดก็ต้องเสียภาษีหรือเปล่า!?
ปัจจุบันแนวทางในการเสียภาษีในการเทรดบิทคอยน์ในประเทศไทยยังไม่ชัดเจนนัก แต่ในปี 2022 ดูเหมือนว่าแนวทางในการเสียภาษีบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ จะเป็นการหักภาษี 15% จากผู้ที่ทำการซื้อบิทคอยน์ให้กับผู้ที่นำมาขายและร้านค้าที่รับชำระค่าสินค้า-บริการ มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เพื่อนำส่งให้กับทางสรรพากร
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการโอนบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลในครอบครัวเดียวกันระหว่างพ่อ แม่และบุตร ปีละไม่เกิน 20 ล้านบาท ไม่ต้องทำการเสียภาษีให้กับทางสรรพากร และสายขุดทำเหมืองบิทคอยน์เองก็ต้องนำส่งมูลค่าของเหรียญที่ครอบครอง โดยทำการยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด. 90 อีกด้วย
บทสรุปส่งท้าย : บิทคอยน์ผิดกฎหมายในประเทศไทยไหม!?
จากข้อมูลในข้างต้นเชื่อว่าคงจะช่วยทำให้หลาย ๆ คนมองเห็นภาพรวมแล้วว่าทางรัฐบาลและธนาคารกลางแห่งประเทศไทยก็ยังคงไม่มีข้อสรุปว่าจะให้บิทคอยน์มีสถานะเป็นถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมายดีไหม!? เพราะดูเหมือนว่าเรื่องนี้ยังคงอยู่ในระหว่างของการศึกษาหาข้อมูลเพื่อนำมาสนับสนุนการตัดสินใจอย่างเหมาะสมนั่นเอง ดังนั้น ในช่วงเวลานี้การลงทุนกับบิทคอยน์จึงยังคงเป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยที่ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด...