Contents
- 1 อยากลงทุนกับคริปโต มาทำความรู้จักกับกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลกันก่อนว่ามีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง
- 2 สินทรัพย์ดิจิทัลในทางกฎหมาย คืออะไร
- 3 ประเทศไทยใครเป็นผู้กำกับดูแลกฎหมายของสินทรัพย์ดิจิทัล
- 4 ประเด็นสำคัญของกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลในการเก็บภาษี Cryptocurrency และ Digital Token ในประเทศไทย
- 4.1 1.กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลภาษีเงินได้จากการแลกเปลี่ยน จำหน่ายและโอน Cryptocurrency และ Digital Token ให้กับบุคคลอื่น
- 4.2 2.กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลการคิดคำนวณต้นทุนของ Cryptocurrency และ Digital Token
- 4.3 3.กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลข้อกำหนดในการเลือกวิธีคำนวณต้นทุน Cryptocurrency และ Digital Token
- 4.4 4.กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลการวัดมูลค่าของ Cryptocurrency และ Digital Token เพื่อนำมาคำนวณต้นทุน
- 5 ส่งท้ายก่อนจาก : กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลส่งผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศไทยพอสมควร แต่ควรทำให้ถูกต้องจะเป็นการดีกว่า
อยากลงทุนกับคริปโต มาทำความรู้จักกับกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลกันก่อนว่ามีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง
หลังจากที่กระแสความนิยมในเรื่องของ “สินทรัพย์ดิจิทัล” ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก ทำให้หน่วยงานของรัฐบาลมีความพยายามอย่างมากในการเข้ามาควบคุมการซื้อขายและแลกเปลี่ยนในประเทศไทยเพื่อให้เป็นไปได้อย่างโปร่งใส ไม่กลายเป็นแหล่งหากินของมิจฉาชีพและสามารถทำการจัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ในขณะเดียวกันกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล ที่เริ่มมีการยกมาปรับปรุงกันมากขึ้นเพื่อให้ทันยุคทันสมัยจะมีผลกระทบต่อนักลงทุน หรือมีเรื่องอะไรที่ควรทราบกันบ้างนั้น ลองมาติดตามอ่านสาระสำคัญที่น่าสนใจจากบทความชิ้นนี้กัน
สินทรัพย์ดิจิทัลในทางกฎหมาย คืออะไร
สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง การประกอบสินทรัพย์เองก็มีการเน้นใช้เทคโนโลยีเป็นหลักและมีลักษณะของการให้บริการข้ามพรมแดน ผู้ลงทุนหรือผู้ซื้อขายสามารถที่จะเข้าถึงได้อย่างง่ายดายขอเพียงแค่มีมือถือและอินเทอร์เน็ต
ในประเทศไทยมีพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) โดยส่วนใหญ่จะเป็นการกรณีการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและการประกอบธุรกิจดิจิทัล เช่น การเสนอขายดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาตและการกระทำที่ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายทรัพย์สินดิจิทัล เป็นตน
ประเทศไทยใครเป็นผู้กำกับดูแลกฎหมายของสินทรัพย์ดิจิทัล
สำหรับในประเทศไทย ผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแล กำกับและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อให้การดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินดิจิทัลเป็นไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ประเด็นสำคัญของกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลในการเก็บภาษี Cryptocurrency และ Digital Token ในประเทศไทย
ในการจำหน่าย จ่ายโอนหรือทำการแลกเปลี่ยน Cryptocurrency และ Digital Token ในประเทศไทย ตามกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ดูแลด้วยกรมสรรพากรในการเสียภาษีเงินได้ มีการกำหนดสาระสำคัญที่นักลงทุนต้องให้ความสำคัญทำตาม ดังต่อไปนี้
1.กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลภาษีเงินได้จากการแลกเปลี่ยน จำหน่ายและโอน Cryptocurrency และ Digital Token ให้กับบุคคลอื่น
กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลกำหนดว่า ในการจำหน่าย จ่าย โอนหรือแลกเปลี่ยน Cryptocurrency และ Digital Token ให้กับบุคคลอื่น เฉพาะที่สามารถทำการตีราคาเป็นเงินได้มากกว่าที่ทำการลงทุนถือว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
2.กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลการคิดคำนวณต้นทุนของ Cryptocurrency และ Digital Token
กำหนดว่า การคำนวณต้นทุนของ Cryptocurrency และ Digital Token ในประเภทเดียวกัน ให้ใช้วิธีมาตรฐานการบัญชีรับรอง โดยแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average cost) และให้คำนวณต้นทุนแยกตามประเภทของเหรียญ ดังต่อไปนี้
วิธีคำนวณต้นทุนแบบเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)
วิธีคำนวณต้นทุนแบบเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) คือ การคำนวณต้นทุนของ Cryptocurrency และ Digital Token ที่ทำการซื้อมาก่อนและขายออกไปก่อนตามลำดับ ทำให้ Cryptocurrency และ Digital Token ที่เหลืออยู่ล่าสุดที่ทำการซื้อมา
วิธีคำนวณต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average cost)
วิธีคำนวณต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average cost) คือ การคำนวณต้นทุนของ Cryptocurrency และ Digital Token แต่ละประเภทจะกำหนดจากการถัวเฉลี่ยนต้นทุนของ Cryptocurrency และ Digital Token ประเภทเดียวกัน ณ วันต้นปี กับต้นทุนของ Cryptocurrency และ Digital Token ที่ทำการซื้อมาในระหว่างปีซึ่งคำนวณทุกครั้งที่ซื้อ Cryptocurrency และ Digital Token
3.กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลข้อกำหนดในการเลือกวิธีคำนวณต้นทุน Cryptocurrency และ Digital Token
ตามกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้มีเงินได้สามารถที่จะทำการเลือกวิธีการคำนวณต้นทุนใดก็ได้ แต่ถ้าหากทำการเลือกแล้วจะต้องใช้วิธีการคำนวณต้นทุนดังกล่าวไปตลอดทั้งปีภาษี และจะสามารถทำการเปลี่ยนวิธีคำนวณได้เมื่อสิ้นสุดปีภาษีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
4.กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลการวัดมูลค่าของ Cryptocurrency และ Digital Token เพื่อนำมาคำนวณต้นทุน
การวัดมูลค่าของ Cryptocurrency และ Digital Token เพื่อใช้ในการคำนวณต้นทุนและรายได้ ให้ใช้ข้อมูลมูลค่า ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ อาทิเช่น ราคาจาก Exchange ที่จัดขึ้นตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นต้น
ส่งท้ายก่อนจาก : กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลส่งผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศไทยพอสมควร แต่ควรทำให้ถูกต้องจะเป็นการดีกว่า
ถึงแม้ฟังดูแล้วว่ากฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยอาจเป็นสิ่งที่ดูน่ารำคาญ แต่กฎระเบียบเหล่านี้ก็ได้ถูกวางเอาไว้เป็นรากฐานเพื่อที่จะให้การครอบครองและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นไปได้อย่างเหมาะสมและเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้นกว่าเดิมได้ด้วยเช่นกัน