Contents
- 1 ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก คืออะไร?
- 2 3 คำถามพบบ่อย พร้อมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำประกันภัย รยต. กับประกันนำสิน!
- 3 ข้อควรระวังสำหรับผู้ถือประกันภัย รยต. ของประกันนำสิน
- 4 ส่งท้ายกับผู้เขียน: คุ้มครองได้ครอบคลุม ด้วยประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบกกับประกันนำสิน!
ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก คืออะไร?
ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก หรือ รยต. คือ ประกันที่คุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก โดยจะคอยรับผิดชอบการขนส่งวัตถุอันตรายที่บรรจุอยู่ในภาชนะอันตราย ทั้งจากองค์กรหรือหน่วยงาน ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิตได้ ซึ่งประกัน รยต. จะให้ความคุ้มครองกรณีที่เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นกับผู้ถือประกัน
3 คำถามพบบ่อย พร้อมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำประกันภัย รยต. กับประกันนำสิน!
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาข้อมูลของการทำประกันภัย รยต. แต่ยังไม่รู้รายละเอียดเกี่ยวกับประกันภัยรูปแบบนี้ เราจึงได้รวม 3 คำถามที่พบบ่อย พร้อมให้คำตอบเพื่อไขข้อสงสัยกันได้ในบทความนี้มาให้ได้ทราบกัน ทั้ง 3 คำถามจะมีคำตอบอย่างไรบ้าง มาดูกันเลย...
คำถามพบบ่อยข้อแรก: 9 วัตถุอันตรายที่อยู่ในเงื่อนไขของประกันภัย รยต. กับประกันภัยนำสินมีกี่ชนิด?
ตามเงื่อนไขของประกันภัยความรับผิดชอบตามกฎหมายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก มีวัตถุอันตรายทั้งหมด 9 ชนิด ที่สามารถให้ความคุ้มครองภายใต้เงื่อนไขประกันของประกันภัยนำสิน ซึ่งจะมีด้วยกันดังนี้
- วัตถุระเบิด
- ก๊าซไวไฟ ก๊าซไม่ไวไฟ ก๊าซพิษ
- ของแข็งไวไฟ สารที่ลุกไหม้ได้เอง และสารให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ
- ของเหลวไวไฟ
- สารพิษ และสารติดเชื้อ
- สารออกซิไดส์ และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
- สารกัดกร่อน
- วัตถุกัมมันตรังสี
- วัตถุอันตรายอื่น ๆ (ไม่อยู่ในชนิดที่ 1-8) ได้แก่ สารคลอรีน สารคอลไรด์ และวัตถุอันตรายอื่น ๆ
คำถามพบบ่อยข้อที่สอง: ประกันภัย รยต. ของประกันภัยนำสินมีความคุ้มครองอะไรบ้าง?
ทางบริษัทประกันนำสินจะช่วยชดใช้ค่าสินไหมเพื่อทดแทนความสูญเสีย และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก โดยผู้ถือประกันเองก็ต้องรับผิดตามกฎหมายของการเกิดความสูญเสีย ด้วยสาเหตุการระเบิด รั่วไหล หรือทำให้วัตถุอันตรายติดไฟ ซึ่งเกิดจากผู้เอาประกันได้ทำการขนส่งวัตถุอันตาย ในยานพาหนะที่ระบุภายใต้กรมธรรม์ประกันภัย โดยประกันนำสินจะให้ความคุ้มครองเบื้องต้นดังนี้
ความคุ้มครองเบื้องต้นจากการทำประกันภัย รยต. ของประกันนำสิน
- ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- ความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต และสุขอนามัยของบุคคลภายนอก
- ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการขจัด บำบัด เคลื่อนย้าย บรรเทาความเสียหาย รวมไปถึงฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม / สภาพใกล้เคียงกับสภาพเดิม อีกทั้งช่วยฟื้นฟูความเสียหายให้กับพืช สัตว์ สิ่งแวดล้อม ทรัพย์ยากรธรรมชาติ ทรัพย์สินของแผ่นดิน
- ทั้ง 4 ความคุ้มครองข้างต้น ได้รวมค่าธรรมเนียมการเรียกร้องค่าสินไหม และค่าใช้จ่ายที่ทดแทนตามแบบกรมธรรม์ ที่ผู้เอาประกันภัยได้ชดใช้ให้แก่ผู้เรียกร้อง รวมถึงค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียม ที่ผู้เอาประกันภัยได้จ่ายให้ด้วยความยินยอม (เป็นลายลักษณ์อักษร) จากทางบริษัทประกันภัย โดยจะต้องไม่เกินจำนวนจำกันความรับผิดที่ได้ระบุในกรมธรรม์
คำถามพบบ่อยข้อที่สาม: ประเภทของรถที่ต้องทำประกันภัย รยต. คือรถประเภทใด?
ประเภทของรถที่ต้องทำประกันภัย รงต. เอาไว้มีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ 1.) รถบรรทุกเฉพาะวัสดุอันตราย (รหัสรถ 340) รถพ่วงประเภทนี้จะใช้บรรทุกวัสดุอันตรายประเภทวัตถุระเบิด สารเคมี วัสดุไวไฟ หรือน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถสังเกตได้จากรถที่มีป้ายเตือนให้เห็นอย่างชัดเจน 2.) รถพ่วงบรรทุกวัสดุอันตราย (รหัสรถ 540) รถพ่วงประเภทนี้ เป็นรถหางพ่วงที่ใช้บรรทุกวัสดุอันตรายเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นสารเคมี วัตถุระเบิด น้ำมันเชื้อเพิง หรือวัสดุไวไฟ มีลักษณะเฉพาะและสามารถสังเกตป้ายเตือนได้อย่างชัดเจน
ข้อควรระวังสำหรับผู้ถือประกันภัย รยต. ของประกันนำสิน
สำหรับผู้ถือประกันที่อาจประสบกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขภายใต้ประกันขึ้น ควรรีบแจ้งข้อมูลให้กับทางบริษัทได้ทราบโดยทันที รวมถึงกรณีที่ผู้เอาประกันได้รับหมายศาล คำบังคับของศาล หรือคำสั่งของศาล ให้รีบแจ้งบริษัทและรีบส่งต่อเรื่องให้กับทางบริษัทโดยทันที และที่สำคัญผู้เอาประกันต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทก่อนเสมอ ต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือสัญญาชดใช้ค่าเสียหายกับบุคคลอื่นก่อน
ส่งท้ายกับผู้เขียน: คุ้มครองได้ครอบคลุม ด้วยประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบกกับประกันนำสิน!
สำหรับใครที่ต้องประกอบอาชีพในการขนส่งวัสดุอันตราย ด้วยการบรรทุกใส่ยานพาหนะตามรูปแบบที่เป็นไปตามเงื่อนไขของประกันนำสินแห่งนี้ ก็สามารถเริ่มต้นถือประกันเอาไว้เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้กับการประกอบอาชีพ เมื่อหากเกิดปัญหาขึ้น ประกันรูปแบบนี้จะช่วยเพิ่มความคุ้มครอง และสามารถดูแลการจัดการปัญหาให้กับคุณได้อย่างแน่นอน