Contents
- 1 ต้องการเสียภาษี Cryptocurrency มีประเด็นอะไรบ้างที่ควรรู้ มาติดตามอ่านจากบทความชิ้นนี้กันได้เลย!
- 2 Cryptocurrency และเหรียญ ICO เป็นสกุลเงินหรือเปล่า มีหลักการเก็บภาษีอย่างไร!?
- 3 ภาษีการจำหน่าย จ่าย โอนหรือแลกเปลี่ยน Cryptocurrency และ Token Digital
- 4 ภาษี Cryptocurrency จากการขุด (ทำเหมือง)
- 5 ภาษี Cryptocurrency จากการได้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง
- 6 บทสรุปส่งท้าย : การเสียภาษี Cryptocurrency เป็นเรื่องที่ไม่ยากอย่างที่หลายคนคิด!
ต้องการเสียภาษี Cryptocurrency มีประเด็นอะไรบ้างที่ควรรู้ มาติดตามอ่านจากบทความชิ้นนี้กันได้เลย!
หลังจากที่เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานเกี่ยวกับภาษี Cryptocurrency ที่มีการเรียกเก็บจากนักลงทุน จนกระทั่งกลายมาเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง
ในที่สุดทางกรมสรรพากร ก็ได้มีนำเสนอ “คู่มือคำแนะนำในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Cryptocurrency และ Token Digital” ออกมาเพื่อให้นักลงทุนทราบแนวทางในการเสียภาษีได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ไม่ควรพลาดสำหรับนักลงทุน ส่วนจะมีประเด็นอะไรกันบ้างนั้น มาลองติดตามทำความรู้จักกัน
Cryptocurrency และเหรียญ ICO เป็นสกุลเงินหรือเปล่า มีหลักการเก็บภาษีอย่างไร!?
Cryptocurrency และ Token Digital ในประเทศไทยไม่ได้เป็น “สกุลเงิน” แต่เป็น “ทรัพย์สินดิจิทัล” โดยทั้งสองมีความหมายที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
- Cryptocurrency คือ เหรียญที่เกิดขึ้นมาเพื่อใช้เป็นตัวกลางในแลกเปลี่ยนเสมือนเป็นเงิน เช่น Bitcoin เป็นต้น
- Digital Token คือ เหรียญที่เกิดขึ้นมาจากการระดมทุนผ่านการทำ ICO (Initial Coin Offering) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะระหว่างผู้ที่ทำการออกเหรียญ และผู้ถือครองเป็นเจ้าของเหรียญ ถ้าหากให้ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย ในประเทศไทยก็มี Siri Hub Token ที่ใช้ในการระดมทุน และนำมาใช้สำหรับการปันผลประจำไตรมาส รวมไปถึงการนำไปใช้เพื่อจองหรือซื้อบ้าน คอนโด ทาวน์โฮมน์ ในโครงการของแสนสิริทั่วประเทศ เป็นต้น
ภาษีการจำหน่าย จ่าย โอนหรือแลกเปลี่ยน Cryptocurrency และ Token Digital
ในประเด็นนี้ การคำนวณภาษีสามารถทำได้สองรูปแบบ โดยให้มีการคำนวณต้นทุนแยกตามประเภทของเหรียญ ถ้าหากเลือกวิธีใดแล้วก็ต้องใช้วิธีนั้นคำนวณตลอดทั้งปี หากต้องการเปลี่ยนวิธีการคำนวณต้องทำในปีภาษีต่อไป มีรายละเอียดที่ควรทราบดังต่อไปนี้
1.ภาษี Cryptocurrency และ Token Digital วิธีการเข้าออกก่อน (FIFO)
เป็นการคำนวณต้นทุนของ Cryptocurrency และ Token Digital โดยมีลำดับการซื้อขายก่อนหลังตามระยะเวลาว่าอะไรซื้อมาก่อน ทำให้ Cryptocurrency และ Token Digital ที่เหลืออยู่สุดท้าย คือ Cryptocurrency และ Token Digital ที่ซื้อมาล่าสุด ส่วน Cryptocurrency และ Token Digital ที่ยังไม่ได้ถูกขายจะไม่ถือว่าเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
2.ภาษี Cryptocurrency และ Token Digital วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost)
เป็นการคำนวณต้นทุน Cryptocurrency และ Token Digital แต่ละประเภทโดยกำหนดจากการถัวเฉลี่ยนต้นทุนของ Cryptocurrency และ Token Digital ประเภทเดียวกัน ณ วันต้นปี กับทุนของ Cryptocurrency และ Token Digital ที่ซื้อมาในระหว่างปี ซึ่งจะมีการคำนวณทุกครั้งที่มีการซื้อ Cryptocurrency และ Token Digital
ภาษี Cryptocurrency จากการขุด (ทำเหมือง)
ใช้วิธีการคำนวณภาษีแบบเดียวกับในหัวข้อที่ 1 ที่มีอยู่สองรูปแบบดั่งที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในตอนต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำการยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดาก็สามารถยื่นแบบหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นและความสมควร อาทิเช่น ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์สำหรับทำการขุด ค่าจ้างพนักงาน ค่านายหน้า ค่าพลังงานไฟฟ้าและค่าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามความจริงในปีภาษีดังกล่าว
ภาษี Cryptocurrency จากการได้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง
พนักงานที่ได้รับเงินเดือนเป็น Cryptocurrency ถือว่าเป็นบุคคลที่มี “รายได้จากการจ้างงาน” เป็นผู้รับเงินได้พึงประเมินประเภท 40 (1) ส่วนคนที่ได้รับค่าจ้างเป็น Cryptocurrency จาก “การทำงานให้” ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำหรือชั่วคราว ถือเป็นผู้ที่ได้รับเงินได้พึงประเมินประเภท 40 (2) และหากได้รับรายได้ทั้งสองแบบจากนายจ้างคนเดียวกัน ผู้มีเงินได้จะต้องรวมกันนำมาแสดงเป็นเงินได้ประเภท 40 (1)
การวัดมูลค่า Cryptocurrency ทั้งการคำนวณต้นและรายได้ ให้มีการใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยที่ได้มา ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือจาก Exchange ที่ได้รับการรับรองจากทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พร้อมกับให้เลือกวิธีการคิดภาษีดังกล่าวตลอดทั้งปี หากต้องการเปลี่ยนจะต้องทำในปีภาษีถัดไป
บทสรุปส่งท้าย : การเสียภาษี Cryptocurrency เป็นเรื่องที่ไม่ยากอย่างที่หลายคนคิด!
หลังจากที่กรมสรรพากรยอมรับความเห็นของนักลงทุนและบุคคลทั่วไปที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียภาษี Cryptocurrency กันมากขึ้น ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นการช่วยให้มีแสงสว่างสาดส่องลงมาในวงการ Cryptocurrency บ้าง เพราะการแน่นอนว่าการเก็บภาษีอย่างเหมาะสม ย่อมทำให้ผู้เสียภาษียินดีที่จะจ่ายเพื่อให้นำเงินเหล่านั้นมาเป็นทุนในการพัฒนาประเทศอย่างแน่นอน
อ้างอิงข้อมูล :
https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/lorkhor/information/manual_crypto_310165.pdf