Contents
- 1 มาทำความรู้จักกับโทเคน ICO กับ STO สองวิธีการระดมทุนที่อาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชน นักลงทุนรุ่นใหม่ไม่ควรพลาด
- 2 โทเคน คืออะไร
- 3 กระบวนการ Initial Coin Offering (ICO) การนำเสนอขายโทเคน คืออะไร
- 4 กระบวนการ STO (Security Token Offering) การนำเสนอขายโทเคนคืออะไร
- 5 ข้อแตกต่างระหว่างโทเคน ICO กับ STO คืออะไร
- 6 บทสรุปส่งท้าย : ICO กับ STO คือสิ่งที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยแล้วหรือเปล่า
มาทำความรู้จักกับโทเคน ICO กับ STO สองวิธีการระดมทุนที่อาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชน นักลงทุนรุ่นใหม่ไม่ควรพลาด
โลกของการลงทุนดูเหมือนจะมีการพัฒนามากขึ้น และมีการอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น ทำให้เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ความปลอดภัยและความโปร่งใสในการลงทุนมากขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะการนำเอา “บล็อกเชน” มาใช้งาน ที่ได้รับมีความกระตือรือร้นและยอมรับมากขึ้นทั่วโลกเรื่อย ๆ
บทความในวันนี้ ผู้เขียนอยากขอพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ โทเคน “ICO” กับ “STO” สองรูปแบบในการระดมทุนที่เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมากและบางรูปแบบก็ได้เริ่มมีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยกันแล้ว ถ้าหากทำความรู้จักกันก่อนก็เชื่อว่าจะสามารถช่วยทำให้เตรียมความพร้อมในการลงทุนได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
โทเคน คืออะไร
โทนเคน หรือ Digital Token คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดสิทธิให้กับบุคคลในการ “แบ่งรายได้” “สิทธิ์ในการได้มาในสินค้า / บริการ” หรือ “สิทธิ์อื่นใด” ๆ (Utility Token) ตามที่ผู้ออกโทเคนได้ทำการสัญญาเอาไว้ โดยโทเคนเหล่านี้ อาจมีการนำเสนอขายผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Initial Coin Offering (ICO)
โทเคนเพื่อการลงทุน (Utility Token) มีลักษณะเหมือนกับแต้มคะแนนสำหรับใช้ในระบบหรือบริการในระบบนิเวศน์ต่าง ๆ ถ้าให้ทำการเปรียบเทียบให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย โทเคนในรูปแบบนี้ก็เหมือนเชื้อเพลิงสำหรับใช้ในการขับเคลื่อนเครือข่ายให้สามารถทำงานต่อไปได้ และทำหน้าที่เป็นเงินปันผลจากร้านค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่ผู้ให้บริการได้นำเสนอขายเอาไว้
กระบวนการ Initial Coin Offering (ICO) การนำเสนอขายโทเคน คืออะไร
Initial Coin Offering (ICO) เป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมทุนที่มีการนำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วยในการทำธุรกรรม โดยผู้ทำ ICO จะทำการกำหนดสิทธิประโยชน์รวมไปถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับนักลงทุน อาทิเช่น ส่วนแบ่งจากผลกำไรของโครงการและ สิทธิ์ในการได้มาในสินค้าหรือบริการที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นต้น ตามเอกสารประกอบการเสนอขาย (White Paper) โดยมีความสามารถกำหนดและบังคับสิทธิ์ได้ผ่านเทคโนโลยี Smart Contract
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำการถือโทเคนจากการลงทุนผ่านกระบวนการ ICO อาจไม่ได้มีสิทธิ์ในฐานะของเจ้าของบริษัทเหมือนกับผู้ถือหุ้น และไม่ได้ถือว่าเจ้าหนี้ของบริษัทด้วย ทำให้อาจไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินของทางบริษัทในกรณีที่การเลิกกิจการหรือล้มละลาย
สำหรับคนที่มีความต้องการอยากลงทุนกับโทเคนผ่านกระบวนการ ICO ก็สามารถที่จะทำได้คือการนำเงิน หรือเงินดิจิทัลมาทำการแลกเปลี่ยนกับเหรียญโทเคนของบริษัท
กระบวนการ STO (Security Token Offering) การนำเสนอขายโทเคนคืออะไร
STO (Security Token Offering) คือ การระดมทุนในรูปแบบหนึ่ง ผู้ลงทุนจะได้รับสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่ามาเป็นสิ่งตอบแทนในลักษณะของโทเคนดิจิทัล อย่างไรก็ตามโทเคนเหล่านี้จะมีหลักทรัพย์เป็นตัวกำหนดมูลค่าเอาไว้ เช่น ผูกกับราคาของทองคำ หุ้น หรือพันธบัตร เป็นต้น ทำให้ STO เป็นรูปแบบของการระดมทุนที่มีความปลอดภัยมากกว่า มีข้อบังคับทางกฎหมายที่มากกว่า แต่ในขณะเดียวกันก็จะความรวดเร็วในการดมทุนที่ดีกว่าและประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับการทำ IPO ทั่วไป
เมื่อทำการลงทุนกับ STO ธุรกรรมความเป็นเจ้าของก็จะถูกบันทึกเอาไว้บนเครือข่ายบล็อกเชน พร้อมกับได้รับดิจิทัลโทเคนมาเหมือนกับการทำ ICO
ข้อแตกต่างระหว่างโทเคน ICO กับ STO คืออะไร
ถึงแม้ว่ารูปแบบของ ICO กับ STO จะฟังดูค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากแต่ที่จริงแล้วการระดมทุนทั้งสองรูปแบบนั้นก็มีความแตกต่างกันพอสมควร โดยความแตกต่างหลักที่สามารถเห็นได้อย่าชัดเจนมากที่สุด คือ “การผูกราคาของโทเคน” ในขณะที่ ICO ผู้นำเสนอขายมีการตั้งราคาเอง แต่ STO มูลค่าจะมีการผูกเอาไว้กับสินทรัพย์ที่มีค่า ทำให้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยมากกว่านั่นเอง
บทสรุปส่งท้าย : ICO กับ STO คือสิ่งที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยแล้วหรือเปล่า
ในปัจจุบัน การระดมทุนผ่านเครือข่ายบล็อกเชนที่ปรากฏให้เห็นแล้วคือ “สิริ ฮับ โทเคน” ซึ่งใช้วิธีการระดมทุนแบบ ICO ที่มีความถูกต้องตามกฎหมายที่ได้รับการอนุญาตจากทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นที่เรียบร้อยแล้วและหวังว่าจะเป็นก้าวแรกในการลงทุนกับธุรกิจในลักษณะนี้ที่มากขึ้นในอนาคต อันเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับนักลงทุนในประเทศไทย