Contents
- 1 สินทรัพย์ดิจิทัลคืออะไร!? มีเรื่องอะไรที่ควรรู้บ้าง!? บทความนี้รวมทุกคำตอบน่าสนใจมาฝากแบบครบจบในที่เดียว!
- 2 สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร!? มีอะไรกันบ้าง!?
- 3 การระดมทุนแบบ ICO คือมีความสำคัญต่อสินทรัพย์ดิจิทัลอะไรบ้าง!?
- 4 บทสรุปส่งท้าย : แม้จะรู้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมีอะไรบ้าง!? แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ
สินทรัพย์ดิจิทัลคืออะไร!? มีเรื่องอะไรที่ควรรู้บ้าง!? บทความนี้รวมทุกคำตอบน่าสนใจมาฝากแบบครบจบในที่เดียว!
เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้งได้สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างกับการใช้ชีวิตอย่างรอบด้านและในโลกของการเงิน-การลงทุนเอง ก็ดูเหมือนว่าจะได้รับผลกระทบที่ชัดเจนมากที่สุดเพราะเทคโนโลยีได้ทำให้เกิดการครอบครอบครอง-ลงทุนกับ “สินทรัพย์ดิจิทัล” กันมากขึ้น
เพื่อให้นักลงทุนมือใหม่เข้าใจมากยิ่งขึ้นว่าสินทรัพย์ดิจิทัลคืออะไร!? มีอะไรกันบ้าง!? บทความชิ้นนี้จึงได้ทำการรวบรวมเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลมาฝากกัน ส่วนจะมีเรื่องอะไรกันบ้างนั้น มาลองติดตามอ่านทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลย
สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร!? มีอะไรกันบ้าง!?
สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset คือสื่อกลางในรูปแบบของดิจิทัลเพื่อนำมาใช้สำหรับ “การระดมทุน” และ “สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน” หากอ้างอิงจาก พ.ร.ก. การประกอบทรัพย์สินดิจิทัล พ.ศ.2561 ในประเทศไทยจะสามารถแบ่งสินทรัพย์ดิจิทัลออกได้เป็นสองประเภท แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หมวดหมู่ตามรูปแบบของการใช้งานเพื่อให้ง่ายต่อการจำแนกให้เข้าใจ ดังต่อไปนี้
1.สินทรัพย์ดิจิทัลมีอะไรบ้าง!? : สกุลเงินดิจิทัล
สกุลเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrencies ในหมู่นักลงทุนในประเทศไทยมักเรียกกันอย่างติดปากว่า “คริปโต” เป็นหน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการและสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Bitcoin Ethereum Litecoin เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี NFT (Non-Fungible Token) ที่ถึงแม้ว่าชื่อจะมีคำว่าโทเคน แต่ก็ถูกนับว่าเป็นคริปโตประเภทหนึ่ง แต่จะมีเหรียญในรูปแบบ 1-1 ไม่เหมือนกับคริปโตประเภทอื่นที่อาจมีการจำกัดจำนวนเหรียญเอาไว้หรือไม่ก็ได้
ในปัจจุบันราคาของคริปโตยังคงมีมูลค่าขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานเครือข่าย และความพึงพอใจของผู้ขายเป็นหลัก เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานกลางใดสามารถเข้าไปทำการควบคุมตลาดคริปโตเพื่อสร้างราคากลางที่เหมาะสมอย่างเบ็ดเสร็จ เหมือนกับตลาดหุ้นนั่นเอง
2.สินทรัพย์ดิจิทัลมีอะไรบ้าง!? : โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token)
โทคเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน เป็นหน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดสิทธิ์ในการร่วมลงทุน อาทิเช่น ส่วนแบ่งของรายได้ผล-ผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการลงทุน เป็นต้น กระบวนการดังกล่าวจะมีการนำเสนอขายผ่านกระบวน ICO
3.สินทรัพย์ดิจิทัลมีอะไรบ้าง!? : โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token)
โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ เป็นหน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดสิทธิประโยชน์ในการได้รับสินค้าหรือบริการที่มีความเฉพาะเจาะจงที่มีการนำเสนอขายผ่านระบบ ICO อาทิเช่น ชิปสำหรับการเล่นพนันในกาสิโน บัตรโดยสารรถไฟฟ้า เป็นต้น
การระดมทุนแบบ ICO คือมีความสำคัญต่อสินทรัพย์ดิจิทัลอะไรบ้าง!?
การระดมทุนแบบ ICO หรือ Initial Coin Offering เป็นรูปแบบของการระดมทุนที่นำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาช่วย โดยผู้ที่ทำการออกโทเคนจะเสนอแบะกำหนดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับนักลงทุน อาทิเช่น ส่วนแบ่งของกำไรที่เกิดขึ้นจากโครงการ สิทธิ์ในการได้รับสินค้าหรือบริการที่มีความเจาะจง
นักลงทุนสามารถที่จะได้รับโทเคนเหล่านี้ได้ด้วยการใช้ เงิน” หรือ “คริปโต” มาซื้อ-แลกเปลี่ยนกับโทเคนของบริษัท โดยจะได้รับการกำหนดและบังคับสิทธิ์ความเป็นเจ้าของผ่านการทำสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) บน Blockchain เพื่อความรวดเร็ว โปร่งใสสามารถตรวจสอบสิทธิ์ความเป็นเจ้าของได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม ICO เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ใช่ “หุ้น” และไม่ใช่ “ตราสารหนี้” ถึงแม้ว่าจะมีรูปแบบในการนำเสนอขายต่อประชาชนและนักลงทุนทั่วไป แต่ผู้ที่ทำการซื้อโทเคนเหล่านั้นไปจะไม่ได้มีฐานะเป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าหนี้ของทางบริษัท ทำให้ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทกรณีที่มีการเลิกกิจการหรือล้มละลาย อย่างไรก็ตามผู้ที่ถือสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทโทเคนก็จะมีสิทธิ์ตามที่ระบุเอาไว้ในเอกสารประกอบการขาย
บทสรุปส่งท้าย : แม้จะรู้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมีอะไรบ้าง!? แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ
หลังจากที่ได้รับทราบข้อมูลที่น่าสนใจกันไปแล้วจะเห็นได้ว่าที่จริงแล้วสินทรัพย์ดิจิทัลมีความหลากหลายและเหมาะกับการลงทุนหลายแบบ แต่อย่างไรเสียเมื่อพูดถึงคำว่าการลงทุนย่อมหมายความว่าอาจจะมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นตามมาได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ต่อให้ทราบว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมีอะไรบ้าง!? ก่อนตัดสินใจเข้าไปลงทุนก็อย่าลืมหาข้อมูลให้ดีและทำใจยอมรับในเรื่องของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตามมาในภายหลังด้วยจะเป็นการดีกว่า...