- ติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ ที่ตั้ง 350/8 หมู่ 5 ถนนโชติพันธุ์ ตำบลหนองครก
- ติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ Facebook : facebook.com/sso.sisaket/
- ติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ อีเมล srisaket@sso.go.th
- ติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ เว็บไซต์ sso.go.th/wpr/sisaket
- ติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ หมายเลขโทรศัพท์ 0-4563-1068-9 / +6645 613 560 / 045-631068-9
Contents
- 1 อยากติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ มีช่องทางไหนที่รวดเร็วบ้าง?
- 2 กองทุนประกันสังคมคืออะไร?
- 3 ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษได้ คือใครบ้าง
- 4 ช่องทางติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ
- 5 สำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ ให้ความช่วยเหลือดูแลอะไรบ้าง!?
- 6 ส่งท้ายก่อนจาก #การติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษไม่ยากอย่างที่หลายคนคิด
อยากติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ มีช่องทางไหนที่รวดเร็วบ้าง?
สำหรับผู้ประกันตนที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ เชื่อว่าหลายคนอาจอยากที่จะทำการติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษเพื่อที่จะได้รับทราบข้อมูลที่ต้องการ หรือเบิกถอนสิทธิตามประกันสังคมของตัวเอง แต่อาจจะยังไม่ทราบว่าควรทำการติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษผ่านทางช่องทางใดจึงจะได้รับการบริการอย่างรวดเร็วมากที่สุด
ถ้าหากใครกำลังอยากติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ บทความนี้ได้ทำการรวบรวมช่องทางที่เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจมาฝากกันให้เลือกตามความสะดวกของตัวเองได้เลย
กองทุนประกันสังคมคืออะไร?
กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่มีหน้าที่ช่วยเป็นหลักประกันในการดำรงชีวิตของกลุ่มสมาชิกที่มีรายได้และได้ทำการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเป็นการช่วยกันเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากอาการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน โดยกองทุนประกันสังคมจะเข้ามาช่วยสนับสนุนในการรักษาพยาบาลและมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง
ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษได้ คือใครบ้าง
สำหรับคนที่อยากขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้ประกันตน” กับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ ต้องเป็นลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์ ตั้งแต่วันที่เข้าทำงานและทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมีจำนวนมากกว่า 1 คนขึ้นไป
เมื่อมีลูกจ้างมากกว่า 1 คน ขึ้นไป นายจ้างจะต้องทำการขึ้นทะเบียนลูกจ้างในฐานะเป็นผู้ประกันตน ภายในระยะเวลา 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างรายใหม่เข้ามาทำงานก็จะต้องทำการขึ้นทะเบียนให้กับลูกจ้างเหล่านั้นในระยะเวลา 30 วัน ด้วยเช่นกัน และความเป็นผู้ประกันตนจะสิ้นสุดเมื่อลูกจ้างทำการลาออกจากงาน เลิกจ้าง นายจ้างจะต้องทำการแจ้งการออกจากงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ด้วยเช่นกัน
ช่องทางติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ
ในส่วนของช่องทางการติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ โดยทั่วไปแล้วนิยมทำการติดต่อโดยผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
ช่องทางในการติดต่อ | วิธีการติดต่อ |
สถานที่ตั้ง | 350/8 หมู่ 5 ถนนโชติพันธุ์ ตำบลหนองครก |
https://www.facebook.com/sso.sisaket/ | |
อีเมล | srisaket@sso.go.th |
เว็บไซต์ | sso.go.th/wpr/sisaket |
หมายเลขโทรศัพท์ | 0-4563-1068-9 / +6645 613 560 / 045-631068-9 |
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ ให้ความช่วยเหลือดูแลอะไรบ้าง!?
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ ให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนตามสิทธิของตัวเองดังต่อไปนี้
- กรณีเจ็บป่วย เจ็บป่วยปกติ / ประสบอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต และค่าทันตกรรม
- กรณีคลอดบุตร ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
- กรณีทุพพลภาพ เงินทดแทนการขาดรายได้ / ค่าบริการทางการแพทย์
- กรณีเสียชีวิต จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน รับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน และค่าทำศพ 50,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบ 120 เดือนขึ้นไป นับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน พร้อมค่าทำศพ 50,000 บาท
- กรณีชราภาพ รับเงินบำนาญชราภาพ หรือเงินบำเหน็จชราภาพ
- กรณีสงเคราะห์บุตร รับเงินสงเคราะห์บุตรคนละ 800 บาท / เดือน (บุตรชอบโดยกฎหมายอายุไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์ ครั้งละไม่เกิน 3 คน)
- กรณีว่างงาน รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน
ส่งท้ายก่อนจาก #การติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษไม่ยากอย่างที่หลายคนคิด
จากข้อมูลในข้างต้นจะเห็นได้ว่าสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่เรียกได้ว่าหลากหลาย ถ้าหากใครมีความต้องการที่จะติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดศรีสะเกษ ขอแนะนำให้เลือกช่องทางที่สะดวกเหมาะสมกับตัวเอง แล้วลองทำการติดต่อกันก่อนเผื่อว่าเจ้าหน้าที่จะตอบคำถามคาใจได้ โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเดินทางเข้าไปที่สำนักงานโดยตรง