4 ประเภทของ “พันธบัตร”
- พันธบัตรตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) ออกโดยกระทรวงการคลัง ความเสี่ยงต่ำที่สุด ระยะเวลาไถ่ถอนไม่เกิน 1 ปี และสร้างผลกำไรจากส่วนต่างของราคาหน้าตั๋ว
- พันธบัตรตั๋วสัญญาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (Debt Restructure Bill) ออกโดยสถาบันการเงิน ความเสี่ยงสูงกว่าพันธบัตรตั๋วเงินคลัง ระยะเวลาไถ่ถอนไม่เกิน 182 วัน และสร้างผลกำไรจากส่วนต่างของราคาหน้าตั๋ว
- พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ระยะเวลาไถ่ถอนมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป จ่ายดอกเบี้ยให้กับนักลงทุนปีละ 2 ครั้ง และเป็นพันธบัตรที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
- พันธบัตรออมทรัพย์ (Government Saving Bond) จำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในสังกัดของรัฐ มีระยะเวลาไถ่ถอน 1 ปีขึ้นไป จ่ายดอกเบี้ยให้กับนักลงทุนปีละ 2 ครั้ง
Contents
ไขปริศนาคาใจ พันธบัตรมีกี่ประเภทและแบบไหนที่น่าลงทุนกันบ้าง มาติดตามรายละเอียดกัน
พันธบัตร เชื่อว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบการลงทุนที่ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นก่อน หรือรุ่นใหม่อาจจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนความเสี่ยงต่ำที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสมเหตุผล อย่างไรก็ตาม คนที่ไม่ได้ศึกษาเจาะลึกเกี่ยวกับพันธบัตรอาจจะมีคำถามว่าแล้วพันธบัตรมีกี่ประเภทกันแน่?
ถ้าหากใครกำลังศึกษาหาข้อมูล เพื่อตอบคำถามว่าพันธบัตรมีกี่ประเภท ลองมาติดตามข้อมูลที่น่าสนใจจากบทความชิ้นนี้กัน เชื่อว่าจะช่วยสลายม่านหมอกแห่งความสงสัยได้เป็นอย่างดี อย่างแน่นอน
พันธบัตร คืออะไร?
พันธบัตร คือ ตราสารหนี้รัฐบาล ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เมื่อมีผู้ซื้อไปพวกเข้าเหล่านั้นก็จะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” ที่จะต้องได้รับการชำระหนี้ รวมไปถึงได้รับผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้น จากลูกหนี้ที่เป็นภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจตามจำนวนที่ได้ตกลงกันเอาไว้ในสัญญาซื้อขายแต่ละรุ่นพันธบัตร
พันธบัตร มีกี่ประเภท?
โดยพื้นฐานแล้ว พันธบัตรสามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แต่ละประเภทเองก็มีความน่าสนใจที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
1.พันธบัตรมีกี่ประเภท? : พันธบัตรตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill)
พันธบัตรที่ถูกออกโดยกระทรวงการคลัง ทำให้มีความน่าเชื่อมั่นและมั่นคงมากที่สุดในบรรดาพันธบัตรทุกประเภท แต่เนื่องจากความเสี่ยงที่ต่ำมากที่สุดก็ส่งผลให้ผลตอบแทนที่ได้รับกลับคืนมาน้อยมากตามไปด้วยเช่นกัน
พันธบัตรตั๋วเงินการคลังไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยเป็นการตอบแทนนักลงทุนเหมือนกับพันธบัตรอื่น แต่ใช้วิธีตอบแทนนักลงทุนด้วยการขายราคาต่ำกว่าที่ระบุเอาไว้ในหน้าตั๋ว เมื่อครบกำหนดเวลาไถ่ถอน (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 ปี) เมื่อนักลงทุนนำมาไถ่ถอนคืนก็จะได้รับ “เงินส่วนต่าง” ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างผลกำไรได้เป็นอย่างดี
2.พันธบัตรมีกี่ประเภท? : พันธบัตรตั๋วสัญญาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (Debt Restructure Bill)
เป็นพันธบัตรที่มักถูกออกโดยสถาบันทางการเงิน มีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูกองทุนและการพัฒนาสถาบันการเงิน ทำให้พันธบัตรประเภทนี้มีความเสี่ยงเพิ่มเติมเข้ามา ส่วนการสร้างผลกำไรนั้นคือการขายราคาต่ำกว่าหน้าตั๋ว และให้นักลงทุนไถ่ถอนเต็มราคาเพื่อสร้างผลกำไรจากส่วนต่าง พันธบัตรประเภทนี้มีอายุการไถ่ถอนอยู่ที่ 182 วัน
3.พันธบัตรมีกี่ประเภท? : พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond)
พันธบัตรรัฐบาล เป็นพันธบัตรที่ถูกออกโดยรัฐบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการระดมทุนสำหรับนำมาใช้ในการบริหารประเทศ หรือเติมเต็มความขาดดุลทางการเงิน มีอายุการไถ่ถอนมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป มีการจ่ายดอกเบี้ยให้กับนักลงทุน 2 ครั้งต่อปี โดยดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะได้รับพร้อมกับเงินต้นที่ทำการไถ่ถอน นอกจากนี้พันธบัตรรัฐบาลยังได้รับความนิยมกันมากที่สุดในหมู่ของนักลงทุนอีกด้วย
4.พันธบัตรมีกี่ประเภท? : พันธบัตรออมทรัพย์ (Government Saving Bond)
พันธบัตรออมทรัพย์ มีความน่าสนใจคือการจ่ายดอกเบี้ยให้กับนักลงทุน 2 ครั้ง / ปี โดยจะมีการขายให้กับบุคคลทั่วไปและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อยู่ภายใต้การสังกัดของรัฐบาล มักมีระยะเวลาในการไถ่ถอนมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป เมื่อครบกำหนดก็จะได้รับเงินต้นคืนพร้อมกับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายไปพร้อมกัน
ส่วนใหญ่แล้ว คนนิยมซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากที่สุด เพราะได้ค่าตอบแทนสมเหตุผลและเข้าใจง่ายที่สุด
เมื่อได้ทราบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพันธบัตรกันไปแล้วว่ามันคืออะไร? มีกี่ประเภท? เชื่อว่าตอนนี้หลายคนก็คงจะมองเห็นภาพรวมได้แล้วว่า พันธบัตรประเภทไหนที่มีความเหมาะสมกับรูปแบบการลงทุนของตัวเองมากที่สุด เพื่อที่จะได้เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเปิดขายพันธบัตรของหน่วยงานราชการในอนาคต