Contents
- 1 นักลงทุน Cryptocurrency ควรรู้กับวิธีการคิดภาษี ประจำปี 2564-2565 รู้ก่อนสบายใจกว่า
- 2 การคิดภาษีของ Cryptocurrency ในปี 2564
- 3 การคิดภาษี (แบบใหม่) ของ Cryptocurrency ในปี 2565
- 4 ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีแนวคิดในการเรียกเก็บภาษี Cryptocurrency ในปี 2564-2565
- 5 ส่งท้ายก่อนจาก : กฎหมายภาษี Cryptocurrency ฉบับปี 2564-2565 เป็นผลดีกับนักลงทุนหรือเปล่า?
นักลงทุน Cryptocurrency ควรรู้กับวิธีการคิดภาษี ประจำปี 2564-2565 รู้ก่อนสบายใจกว่า
ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดในวงการลงทุน Cryptocurrency ในประเทศไทยก็คงจะเป็นเรื่องอะไรไปไม่ได้นอกเสียกจากวิธีการ “เก็บภาษี” ที่กลายมาเป็นประเด็นการพิพาทระหว่างนักลงทุน Cryptocurrency กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนกระทั่งในที่สุดก็ดูเหมือนว่าเรื่องราวกระทบกระทั่งกันจะเริ่มเห็นแสงสว่างร่วมกันเสียที
เพื่อให้นักลงทุน Cryptocurrency ที่เริ่มมีรายได้เข้ามาแล้วเกิดความกังวลในเรื่องของภาษีที่ตามมา ลองมาทำความรู้จักกับภาษี Cryptocurrency ในปี 2564-2565 กันดีกว่าว่ามีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ ควรทราบกันบ้าง!?
การคิดภาษีของ Cryptocurrency ในปี 2564
ในช่วงปี 2564 ทางสรรพากรได้เริ่มมีแนวคิดที่จะทำการเก็บภาษีรายได้จาก Cryptocurrency แต่สิ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคือ “การเรียกเก็บผลกำไรที่เกิดขึ้น โดยไม่สามารถนำเอาผลการขาดทุนมาหักลบได้” ประเด็นนี้เองที่ทำให้เกิดการโต้เถียงกันในวงกว้างว่า การทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดภาษีเกินความเป็นจริง
เพราะในความเป็นจริงแล้วการซื้อ-ขาย Cryptocurrency มีความผันผวนเป็นอย่างมาก ทำให้ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดปัญหาการขาดทุนเสียมากกว่า แต่ถ้าหากมีไม้ใดเกิดกำไรขึ้นกลับหมายความว่าผลของกำไรเหล่านั้นจะต้องถูกนำมาคำนวณภาษี ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วพอร์ตการลงทุนดังกล่าวโดยรวมแล้วคือ “ขาดทุน” ขณะเดียวกันก็ยังเกิดปัญหาในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลและแสดงรายการเมื่อทำการยื่นภาษีอีกด้วย สำหรับแนวคิดในการเก็บภาษี Cryptocurrency ฉบับเดิมในปี 2564 มีดังต่อไปนี้
1.การเก็บภาษีเงินได้ มีการคิดจากกำไรที่เกิดขึ้นทั้งหมดนำมาทำการคำนวณ โดยที่ไม่สามารถนำเอาผลขาดทุนมาทำกการหักลบได้
2.การหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นจำนวน 15%
3.การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม มีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราปกติ
การคิดภาษี (แบบใหม่) ของ Cryptocurrency ในปี 2565
หลังจากที่พบข้อบกพร่องมากมาย ทางสรรพากรจัดรับฟังความคิดเห็นของนักลงทุนตัวจริง กับผู้เกี่ยวข้องมากขึ้นทำให้กลายมาเป็นวิธีการจัดเก็บภาษี Cryptocurrency แบบใหม่ โดยมีสิ่งที่ควรทราบดังต่อไปนี้
1.การเก็บภาษีเงินได้ สามารถนำผลขาดทุนมาหักลบในส่วนของกำไรได้ แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ในปีภาษีเดียวกันได้
2.การหักภาษี ณ ที่จ่าย มีการยกเว้นภาษี 15%
3.การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม มีการยกเว้นเฉพาะ Exchange ที่ได้รับการรับรองโดย ก.ล.ต.
ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีแนวคิดในการเรียกเก็บภาษี Cryptocurrency ในปี 2564-2565
หลังจากที่ทางสรรพากรมีแนวคิดในการเก็บภาษี Cryptocurrency ก็สร้างผลกระทบให้กับวงการลงทุนพอสมควรเลยทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นมี ดังต่อไปนี้
1.วิธีการจัดเก็บและส่งข้อมูลภาษี Cryptocurrency ให้กับทางสรรพากรในปี 2564-2565
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการวิธีการจัดเก็บและส่งข้อมูลให้กับทางสรรพากรจะมีใครเป็นผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ เนื่องจากในปัจจุบันหน้าที่ดังกล่าวยังถูกนับเป็นหน้าที่ของนักลงทุนที่ต้องทำด้วยตัวเองทำให้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากของนักลงทุนในการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว
2.การหลีกเลี่ยงภาษีของนักลงทุน Cryptocurrency ในปี 2564-2565
ด้วยข้อบังคับว่านักลงทุนจะต้องเสียภาษี Cryptocurrency ให้กับภาครัฐ ถึงแม้ว่าในกฎหมายฉบับใหม่จะมีความพยายามในการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อทำการซื้อขายผ่าน Exchange ที่ได้รับการรับรองจากทาง ก.ล.ต. ก็ตาม แต่โดยพื้นฐานไม่ว่านักลงทุนคนใดก็ไม่อยากที่จะเสียภาษีทั้งสิ้น
ทำให้เกิดการย้ายไปใช้บริการ Exchange ค่ายใหญ่ที่น่าเชื่อถือตั้งแต่ตอนที่นโยบายการเก็บภาษีในปี 2564 ยังไม่เป็นที่เรียบร้อยเพราะไม่จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีและยังสามารถทำการซื้อขายได้อย่างสบายใจ จนเป็นการทำให้กระแสเงินจากการซื้อขาย Cryptocurrency ลดน้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน
ส่งท้ายก่อนจาก : กฎหมายภาษี Cryptocurrency ฉบับปี 2564-2565 เป็นผลดีกับนักลงทุนหรือเปล่า?
เดิมทีเหตุผลที่ทำให้หลายคนเลือกที่จะลงทุนกับ Cryptocurrency คือ การที่ “ไม่ตกอยู่ในการควบคุม” ของรัฐบาล ธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นั่นหมายความว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสียภาษีจากรายได้ในการลงทุน Cryptocurrency ที่หามาด้วยตัวเองท่ามกลางตลาดที่มีความผันผวนเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการออกกฎระเบียบข้อบังคับในการเก็บภาษี Cryptocurrency ในปี 2564-2565 ออกมาให้เห็นกันแล้ว ตามหน้าที่ของพลเมืองที่สามารถสร้างรายได้ก็จำเป็นที่จะต้องทำการเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อให้ภาษีเหล่านั้นได้ถูกนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างเหมาะสมต่อไปในอนาคต...