- พันธบัตรตราสารหนี้ คือ Bond เป็นตราสารทางการเงินที่ผู้ซื้อหรือนักลงทุน มีฐานะเป็น “เจ้าหนี้” ส่วนผู้ออกพันธบัตรตราสารหนี้ มีฐานะเป็น “ลูกหนี้” ซึ่งจะต้องจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบของ “ดอกเบี้ย” ให้กับเจ้าหนี้อย่างสม่ำเสมอ และคืนเงินต้นเมื่อถึงเวลาที่กำหนด
- พันธบัตรตราสารหนี้ภาครัฐ (Government Bond) มักเรียกรวมกันว่า “พันธบัตร” คือ พันธบัตรตราสารหนี้ที่หน่วยงานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ทำการออกเพื่อใช้ในการระดมทุนไปใช้ในการบริหาร พัฒนาประเทศ แยกย่อยได้เป็น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ พันธบัตรออมทรัพย์ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และตั๋วเงินคลัง
- พันธบัตรตราสารหนี้เอกชน มักถูกเรียกว่า “หุ้นกู้” คือ พันธบัตรตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน เพื่อใช้สำหรับการระดมทุนในการขยายกิจการ ต้นทุนทางการเงินของภาคเอกชนมักที่จะถูกยืมมาจากธนาคารพาณิชย์ และมีกำหนดระยะเวลาเอาไว้ประมาณ 3 -20 ปี และยังมีแบบที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่เรียกว่า “หู้นกู้ชั่วนิรันดร์” (Perpetual Bond)
Contents
มาทำความรู้จักกับพันธบัตรตราสารหนี้ ดีไหม เหมาะกับการลงทุนออมเงินกันหรือเปล่า?
“พันธบัตรตราสารหนี้” ชื่อนี้อาจทำให้หลายคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการลงทุนอาจต้องขมวดคิ้วด้วยความสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่? เพราะชื่อของมันก็บ่งบอกแล้วว่าเกี่ยวกับหนี้ แถมคำว่าตราสารที่ดูแสนจะเป็นทางการก็แทบไม่ได้ช่วยอธิบายว่ามันคืออะไรกัน?
เพื่อเป็นการช่วยให้นักลงทุนหน้าใหม่เข้าใจเกี่ยวกับพันธบัตรตราสารหนี้มากขึ้น ลองมาทำความรู้จักกับพันธบัตรตราสารหนี้ในประเด็นต่าง ๆ อย่างเจาะลึกกันดีกว่าว่ามันคืออะไรกัน
พันธบัตรตราสารหนี้ คืออะไร?
พันธบัตรตราสารหนี้ คือ Bond เป็นตราสารทางการเงินที่ผู้ซื้อหรือนักลงทุน มีฐานะเป็น “เจ้าหนี้” ส่วนผู้ออกพันธบัตรตราสารหนี้ มีฐานะเป็น “ลูกหนี้” ซึ่งจะต้องจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบของ “ดอกเบี้ย” ให้กับเจ้าหนี้อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่ได้กำหนดเอาไว้ เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนลูกหนี้จะต้องคืนเงินต้นให้กับเจ้าหนี้ด้วย
จุดเด่นของพันธบัตรตราสารหนี้ คืออะไร?
สิ่งที่ทำให้พันธบัตรตราสารหนี้มีความโดดเด่นมากที่สุดคือ
- พันธบัตรตราสารหนี้ มีความเสี่ยงน้อย
- พันธบัตรตราสารหนี้ ให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอประมาณ 2-5% ของเงินต้น ซึ่งสูงกว่าการนำไปฝากเอาไว้ในธนาคาร
พันธบัตรตราสารหนี้ มีกี่ประเภท คืออะไรกันบ้าง?
พันธบัตรตราสารหนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่ที่ได้รับความนิยมสำหรับการลงทุนกันมากที่สุด คือ พันธบัตรตราสารหนี้สองประเภทหลักดังต่อไปนี้
1.พันธบัตรตราสารหนี้ภาครัฐ (Government Bond)
มักเรียกรวมกันว่า “พันธบัตร” คือ พันธบัตรตราสารหนี้ที่หน่วยงานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ทำการออกเพื่อใช้ในการระดมทุนไปใช้ในการบริหาร พัฒนาประเทศ โดยแยกย่อยออกได้อีกหลายประเภท ดังต่อไปนี้
- พันธบัตรรัฐบาล กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกเพื่อนำเงินมาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ เป็นต้น
- พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก มีการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลังเพื่อนำเงินมาใช้ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ของประเทศ
- พันธบัตรออมทรัพย์ ออกโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่นของภาครัฐ ถือว่าเป็นทางเลือกในการออกเงินและลงทุน
- พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำหรับใช้นำเงินไปใช้ในการดูแลสภาพคล่องทางด้านเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ตั๋วเงินคลัง ออกโดยกระทรวงการคลัง เป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไถ่ถอนไม่เกิน 1 ปี
2.พันธบัตรตราสารหนี้เอกชน (Corporate Bond)
พันธบัตรตราสารหนี้เอกชน มักถูกเรียกว่า “หุ้นกู้” คือ พันธบัตรตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน เพื่อใช้สำหรับการระดมทุนในการขยายกิจการ ต้นทุนทางการเงินของภาคเอกชนมักที่จะถูกยืมมาจากธนาคารพาณิชย์ และมีกำหนดระยะเวลาเอาไว้ประมาณ 3 -20 ปี และยังมีแบบที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่เรียกว่า “หู้นกู้ชั่วนิรันดร์” (Perpetual Bond)
ส่งท้ายก่อนจาก # พันธบัตรตราสารหนี้คืออะไร หวังว่าบทความนี้จะให้คำตอบที่ตามหา
พันธบัตรตราสารหนี้ เป็นหนึ่งในรูปแบบของการลงทุนที่ดี แต่ก็ยังมีการแยกย่อยรูปแบบเฉพาะที่แตกต่างกันออกไปพอสมควร ดังนั้น ถ้าหากใครกำลังสนใจอยากที่จะทำการลงทุนกับพันธบัตรตราสารหนี้ ขอแนะนำให้ทำการศึกษาเกี่ยวกับประเภทย่อยของพันธบัตรตราสารหนี้ว่าคืออะไรกันบ้าง เพื่อที่จะได้ตัดสินใจลงทุนได้อย่างเหมาะสมกับตัวเองให้มากที่สุดได้นั่นเอง