พระราชบัญญัติ เงิน ดิจิตอล
บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

พระราชบัญญัติเงินดิจิตอลประเด็นสำคัญที่คนทั่วไปและนักลงทุนควรรู้กันบ้าง!? บทความนี้มีคำตอบ

พระราชบัญญัติ เงิน ดิจิตอล

 

ในยุคนี้คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ากระแสของสกุลเงินดิจิตอลกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่า “ติดลมบน” ในโลกของการลงทุน ทำให้มีประชาชนและนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่พากันหอบเม็ดเงินเข้าไปลงทุนในตลาดนี้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ

สำหรับประเทศไทยเอง ทางรัฐบาลก็ได้ออก “พระราชบัญญัติเงินดิจิตอล” ออกมาเพื่อเป็นการควบคุมดูแลและสนับสนุนการลงทุน ทำธุรกรรมเกี่ยวกับเงินดิจิตอลให้มีความเหมาะสมมากกว่าเดิม ส่วนพระราชบัญญัติเงินดิจิตอลจะมีประเด็นอะไรน่ารู้กันบ้าง!? ลองมาติดตามอ่านจากบทความชิ้นนี้กันได้เลย

 

1.พระราชบัญญัติเงินดิจิตอล คืออะไร!?

พระราชบัญญัติ เงิน ดิจิตอล

 

พระราชบัญญัติเงินดิจิตอล หรือ พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คือกฎหมายที่ว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีเป้าหมาย ดังต่อไปนี้

 

  • พระราชบัญญัติเงินดิจิตอล ให้การสร้างการกำกับ ควบคุมการทำธุรกรรมและดำเนินกิจกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลภายในประเทศไทยให้มีความโปร่งใส
  • พระราชบัญญัติเงินดิจิตอล ช่วยรักษาความมั่นคง เสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ
  • พระราชบัญญัติเงินดิจิตอล ให้ความคุ้มครองผู้ลงทุน ตลอดจนประชาชนที่เกี่ยวข้อง หลีกเลี่ยงการหลอกลวงประชาชนหรือการกระทำอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชญากรรม

 

2.สาระสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติเงินดิจิตอล

พระราชบัญญัติ เงิน ดิจิตอล

 

มาตรการในพระราชบัญญัติเงินดิจิตอลมีทั้งหมด 100 ข้อ แต่โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การกำหนดกฎหมายในการควบคุมการทำธุรกรรมดิจิตอลด้วยคริปโตหรือโทเค็น ในขณะเดียวกันยังได้มีการแต่งตั้ง ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ขึ้นมาในฐานะของหน่วยงานกลางเพื่อรับหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและควบคุมการซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิตอลให้กับผู้ประกอบการต่าง ๆ ในประเทศไทย

 

3.ประเด็น “สำคัญ” ในพระราชบัญญัติเงินดิจิตอล

พระราชบัญญัติ เงิน ดิจิตอล

 

พระราชบัญญัติเงินดิจิตอลมีประเด็นที่เรียกว่ามีความสำคัญอย่างมากอยู่ 2 ข้อ และควรทราบเพื่อให้สามารถลงทุนหรือทำธุรกรรมเกี่ยวกับเงินดิจิตอลได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้

 

พระราชบัญญัติเงินดิจิตอลมาตรา 17

การเสนอขายโทเคนดิจิตอลที่ออกใหม่ต่อประชาชน ผู้ออกโทเคนจะต้องได้รับการอนุญาตจากทาง ก.ล.ต. และให้สามารถกระทำได้เฉพาะ “นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทจำกัดมหาชน” พร้อมกับต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเสนอขายโทเคนและร่างหนังสือชี้ชวนให้กับ ก.ล.ต. โดยมีรายละเอียดตามที่กำหนดเอาไว้ หากได้รับการอนุญาตจากทาง ก.ล.ต. แล้วการนำเสนอขายจะต้องเสนอผ่านให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิตอลที่ได้รับความเห็นชอบจากทาง ก.ล.ต. เท่านั้น!

หากมีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติเงินดิจิตอลมาตรา 7 จะมีโทษตามมาตรา 57 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองเท่าของราคาขายโทเคนดิจิตอลทั้งหมดที่ได้ทำการเสนอขาย แต่ทั้งนี้ค่าปรับต้องไม่น้อยกว่า 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ในพระราชบัญญัติเงินดิจิตอลมาตรา 41

ในพระราชบัญญัติเงินดิจิตอลมาตรา 41 ว่าด้วยการป้องกันการกระทำที่ไม่เป็นทำที่เกิดขึ้นจากการซื้อ-ขายทรัพย์สินดิจิทัล ห้ามมิให้บุคคลใดวิเคราะห์หรือคาดการณ์ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวกับผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล “โดยนำข้อมูลที่รู้ว่าเป็นเท็จหรือไม่ครบถ้วน” อันอาจก่อให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญมาใช้วิเคราะห์ คาดการณ์หรือละเลยที่จะพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวที่น่าจะทำให้เกิดผลกระทบต่อราคาทรัพย์สินดิจิตอลหรือต่อการตัดสินใจของนักลงทุนในสินทรัพย์ดิจิตอล

ผู้ทำการฝ่าฝืนในพระราชบัญญัติเงินดิจิตอลมาตรา 41 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,00 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 70

 

4.นิยามของคำว่า “Cryptocurrency” ในพระราชบัญญัติเงินดิจิตอล

พระราชบัญญัติ เงิน ดิจิตอล

 

พระราชบัญญัติเงินดิจิตอลได้ทำการนิยามคำว่า “Cryptocurrency” เอาไว้ว่าหมายถึง “หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการหรือสิทธิ์อื่นใด หรือการแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลและให้ความหมาย รวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด”

 

บทสรุปส่งท้าย : แม้จะมีพระราชบัญญัติเงินดิจิตอลช่วยเหลือ แต่ก่อนเข้าไปลงทุนควรศึกษาให้ดี!

ตลาดสกุลเงินดิจิทัลก็ยังคงมีความผันผวนสูง! ถึงแม้ว่าจะได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือบ้างจากพระราชบัญญัติเงินดิจิตอล แต่ยังไงเสียขึ้นชื่อว่าการลงทุนก็ย่อมที่จะต้องมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมาจากความผันผวนเช่นเดิม ดังนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้ามาลงทุนกับสนามนี้ ควรยอมรับความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลให้มีความครบถ้วนรอบด้านเพื่อที่จะช่วยลดปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการขาดทุนให้น้อยลงกว่าเดิม...

 

อ้างอิง :

https://www.sec.or.th/TH/Documents/DigitalAsset/digitalasset_summary.pdf

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/033/43.PDF

 

 

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตบทความและสาระดีดีกันนะ

บทความแนะนำ
บัตรเครดิตกรุงศรีโฮมโปร
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
บัตรเครดิตกรุงศรีแพลทินัม โปรโมชั่นและค่าธรรมเนียมกดเงินสดคุ้มค่าไหม ชาว Pantip ว่ายังไงมาดูกัน!!
มารู้จักกับบัตรเครดิตกรุงศรีแพลทินัม (Krungsri Platinum Credit Card) ก...
[15 บัตรกดเงินสด] อนุมัติง่าย วงเงินสูงในปี 2021-2022 มีของอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง!?
ธนาคาร/ผู้ให้บริการบัตรกดเงินสด
[15 บัตรกดเงินสด] อนุมัติง่าย วงเงินสูงในปี 2021-2022 มีของอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง!?
มาทำความรู้จักกับ 15 บัตรกดเงินสดว่ามีของอะไรบ้างที่น่าสนใจ ควรค่ากับก...
บัตรเครดิตไทยพาณิชย์แฟมิลี่พลัส (SCB Family Plus) ยิ่งรูด ยิ่งคุ้ม โดนใจชาว Pantip
ธนาคาร/สถาบันการเงินผู้ให้บริการบัตรเครดิต
บัตรเครดิตไทยพาณิชย์แฟมิลี่พลัส (SCB Family Plus) ยิ่งรูด ยิ่งคุ้ม โดนใจชาว Pantip
ใครอยากออมเงิน พร้อมรับเครดิตเงินคืน ไม่ควรพลาดบัตรเครดิต SCB FAMILY P...