Contents
- 1 มาทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล กับประเด็นน่าสนใจที่นักลงทุนไม่ควรพลาดกัน
- 2 พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร!?
- 3 พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล กำหนดประเภทเอาไว้ทั้งหมดกี่แบบ
- 4 พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล กับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
- 5 พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล กับ NFT
- 6 บทสรุปส่งท้าย : พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลมีประเด็นที่น่าสนใจและไม่ควรพลาดมากมายสำหรับนักลงทุน
มาทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล กับประเด็นน่าสนใจที่นักลงทุนไม่ควรพลาดกัน
สำหรับคนที่ให้ความสนใจกับสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งการใช้งานและการลงทุน สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามด้วยประการทั้งปวงก็คือกฎข้อบังคับเกี่ยวกับทรัพย์สินดิจิทัล โดยในประเทศไทยก็ได้มีการกำหนดข้อบังคับที่ควรทราบออกมาอย่างมากมาย ซึ่งสิ่งที่ไม่ควรพลาดทำความรู้จักก็คือ “พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล” นั่นเอง
ส่วน พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลจะมีกฎเกณฑ์น่าสนใจ ไม่ควรมองข้ามในประเด็นอะไรกันบ้างนั้น รับรองว่าบทความชิ้นนี้จะมีคำตอบที่น่าสนใจให้อย่างแน่นอน
พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร!?
หากเรียกว่าพ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนัก เพราะในความเป็นจริงแล้วต้องเรียกว่า “พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561” ที่ได้รับการดูและบังคับใช้ในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ประกอบการและผู้ลงทุน
พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล กำหนดประเภทเอาไว้ทั้งหมดกี่แบบ
ถ้าหากอ้างอิงจากพ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล สินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
1.พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลกับ คริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency)
ตาม พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล คริปโตเคอเรนซี คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นมาบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนให้ได้มาโดยสินค้าหรือบริการการ หรือสิทธิ์อื่นใด หรือการแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล
2.พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลกับ โทเคนดิจิทัล (Token Digital)
ตาม พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาในระบบเครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “การกำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมการลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ หรือการกำหนดสิทธิ์ในการได้มาซึ่งสินค้า / บริหาร / สิทธิ์อื่นใดที่มีความเฉพาะเจาะจง" สำหรับโทเคนดิจิทัล สามารถแบ่งออกได้เป็นสามลักษณะ ดังต่อไปนี้
- Investment token กำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจการ
- Utility token (พร้อมใช้งาน) กำหนดสิทธิ์ให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ / สิทธิ์อื่นใดแบบเฉพาะเจาะจงในอนาคต
- Utility token (ไม่พร้อมใช้งาน) กำหนดสิทธิ์ในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ * สิทธิ์อื่นใดแบบเฉพาะเจาะจงที่สามารถใช้ได้ในทันที
พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล กับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล มีความหมายว่าการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซีและโทเคนดิจิทัล โดยมีการจัดประเภทดังต่อไปนี้
- ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ศูนย์กลางหรือเครือข่ายใด ๆ ที่จัดให้มีขึ้นเพื่อทำการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการจับคู่สัญญาให้หรือการจัดการระบบ / อำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ประสงค์ซื้อ-ประสงค์ขาย
- นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล บุคคลผู้ให้บริการหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมที่จะให้บริการเป็นนายหน้าหรือตัวแทน ในการซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่บุคคลอื่น
- ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล บุคคลที่ให้บริการหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะให้บริการซื้อ-ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในนามของตนเองเป็นทางการค้าปกติ โดยกระทำนอกศูนย์ซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ไม่รวมถึงการให้บริการในลักษณะที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด
- ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ ที่ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองลักษณะของโทเคนดิจิทัลที่จะนำเสนอขาย คุณสมบัติของผู้ออกและความครบถ้วนถูกต้องของแบบแสดงรายการเสนอขายโทเคนดิจิทัล และหนังสือชี้ชวน หรือข้อมูลอื่นใดที่เปิดเผยผ่านผู้ให้บริการดังกล่าว
- กิจการอื่นที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล กับ NFT
NFT หรือ Non-fungible token ที่เข้าข่ายของการเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องเป็น NFT ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิ์ในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ / สิทธิ์ที่มีความเฉพาะเจาะจง ถึงจะถือว่าเข้าข่ายในการเป็น Utility token
ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ NFT Marketplace ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล และต้องได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง แต่ยังคงอยู่ในระหว่างของการทบทวนหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม
บทสรุปส่งท้าย : พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลมีประเด็นที่น่าสนใจและไม่ควรพลาดมากมายสำหรับนักลงทุน
หลังจากที่ได้ทราบเกี่ยวกับความหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจอย่างมากใน พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลกันไปแล้ว เชื่อว่า ณ ตอนนี้หลาย ๆ คนก็คงจะสามารถทำความเข้าใจและเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับการใช้งาน / การลงทุน ในทรัพย์สินดิจิทัลเพื่อต้อนรับการมาเยือนของนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีความน่าสนใจได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมได้อย่างแน่นอน